วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

5.ศาสนาสำคัญของโลก

ศาสนาสำคัญของโลก

1.  ประเภทศาสนา
  • ศาสนาเทวนิยม นับถือพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งต่างๆ
  • เอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าองค์เดียว ได้แก่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม
  • ทวิเทวนิยม นับถือพระเจ้า 2 พระองค์ ได้แก่ ศาสนาโซโรอัสเตอร์
  • พหุเทวนิยม นับถือพระเจ้าหลายองค์ ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  • อเทวนิยม ไม่เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกสรรพสิ่ง แต่เชื่อว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยและเชื่อว่ากรรมเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง



ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

  • เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เกิดขึ้นในยุคพระเวท ไม่มีศาสนา(ผู้ก่อตั้ง) เป็นศาสนาของชาวอารยัน 
  • เมื่อเข้ามาในอินเดียได้นำความเชื่อตามธรรมชาติ (วิญญาณนิยม) ของชนพื้นเมืองเดิม (ดราวิเดียน หรือ มิลักขะ หรือทัสยุ) มาผนวกกับความเชื่อของตน กลายเป็นศาสนาพราหมณ์ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
    • ยุคก่อนพระเวท      วิญญาณนิยม             
    • ยุคพระเวท             พหุเทวนิยม     
    • ยุคพราหมณ์          เอกเทวนิยม       
    • ยุคฮินดู                  พหุเทวนิยม


คัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์
  • คัมภีร์ศรุติ คัมภีร์จากพระเจ้า เช่น คัมภีร์พระเวท
  • คัมภีร์สมฤติ คัมภีร์ที่เกิดจากมนุษย์สร้าง เช่น คัมภีร์ธรรมศาสตร์ คัมภีร์อิติหาสะ คัมภีร์ปุราณะ
  • คัมภีร์พระเวท เป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่สุด ได้แก่
    • 1) ฤคเวท เป็นบทร้อยกรองที่ใช้สรรเสริญเทพเจ้าต่างๆ
    • 2) ยชุรเวท เป็นคำร้อยแก้วที่ใช้ในการบูชายัญและพิธีบวงสรวงต่างๆ
    • 3) สามเวท เป็นร้อยกรองประกอบดนตรีใช้ในทางขับกล่อมและถวายน้ำโสมเทพเจ้า
    • 4) อาถรรพเวท เป็นพระเวทที่เกิดหลังสุด เกี่ยวกับเวทมนต์คาถาต่างๆ
      • คัมภีร์ไตรเทพหรือไตรเวท ได้แก่ ฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท
      • คัมภีร์ธรรมศาสตร์ เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยหลักกฎหมาย จารีตประเพณีและสิทธิของคนในสังคมฮินดู
      • คัมภีร์อิติหาสะ ว่าด้วยวีรกรรมของวีรบุรุษ เช่น มหากาพย์รามายณะ                มหากาพย์มหาภารตะ
      • คัมภีร์ปุราณะ เปรียบเสมือนสารานุกรมของชาวฮินดู ว่าด้วยตรีมูรติ (พระพรหม พระศิวะ และ พระนารายณ์) การสร้างโลก ทำลายโลก สร้างโลกใหม่
      • คัมภีร์อุปนิษัท เป็นคำสอนที่ด้วยหลักหรือสอนเกี่ยวกับปรมาตมันที่เชื่อว่าเป็นความจริงอาตมันหรือวิญญาณของคนแต่ละชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของปรมาตมัน
      • คัมภีร์ภควัทคีตา เป็นหัวใจนักปรัชญาของฮินดู เป็นที่คารวะศูนย์รวมของนักปรัชญาทุกระบบ

นิกายของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
    • พรหม นับถือพระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด
    • ไวษณพ นับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นใหญ่ เชื่อในลักธิอวตาร
    • ไศวะ นับถือพระศิวะหรืออิศวรเป็นใหญ่
    • ศักดิ นับถือเทวีหรือมเหสีของเทพเจ้า เช่น 
      • พระนางอุมา (มเหสีพระอิศวร)      
      • พระนางสุรัสวดี (มเหสีพระพรหม) 
      • พระนางลักษมี (มเหสีพระวิษณุ)

หลักธรรม
  • หลักอาศรม 4 คือขั้นตอนในการดำเนินชีวิตของวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ มีขั้นตอนตามลำดับดังนี้
    • 1) พรหมจารี แปลว่า ผู้พฤติพรหมจรรย์ หมายความว่าอยู่ในวัยเล่าเรียนโดยต้องผ่านพิธีอุปนยัน (พิธีเข้ารับการศึกษา) โดยเด็กจะคล้องด้ายศักดิ์สิทธ์ที่เรียกว่า ยัชโยปวีตหรือสายธุรำ
    • 2) คฤหัสถ์ คือ ผู้ครองเรือน แต่งงานมีครอบครัว สืบสกุล
    • 3) วานปรัสถ์ คือ วัยที่ต้องปฏิบัติธรรม บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
    • 4) สันยาสี เป็นช่วงสุดท้ายของชีวิต มีการออกบวชเพื่อให้บรรลุโมกษะ
  • หลักปุรุษารถะ
    • 1) อรรถะ คือ การแสวงหาทรัพย์
    • 2) กามะ คือ การแสวงหาความสุขทางโลก
    • 3) ธรรมะ คือ การประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อหาความจริงของชีวิต
    • 4) โมกษะ คือ การออกบำเพ็ญพรตเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของชีวิตคือ โมกษะ การหลุดพ้นจากการเวียน ว่าย ตาย เกิด จะดำรงความสุขอันไม่เปลี่ยนแปลงไปชั่วนิรันดรซึ่งเรียกว่า ปรมาตมัน
      • ส่วน พรหมัน หรือ ปรพรหม หรือ ปรมาตมัน เป็นอาตมันสากล (ไม่ใช่พระพรหม) เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ในภาวะ เป็นสิ่งแท้จริงสูงสุด เป็นตัวตนที่เที่ยง (อัตตา) ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีรูปร่าง ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีที่สุด ดำรงอยู่ตลอดกาล มีอยู่ในทุกสิ่ง โดยที่ทุกสิ่งนั้นเป็นิ่งที่เกิดจากพรหมัน
      • ส่วน ชีวาตมัน เป็นตัวตนย่อย เป็นอาตมันของมนุษย์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ประกอบไปด้วยร้างกายและวิญญาณ
  • การแบ่งวรรณะ
    • 1) พราหมณ์ ได้แก่ ครู นักบวช นักกฎหมาย นักปราชญ์ นักวิทยาศาสตร์
    • 2) กษัตริย์ ได้แก่ พระเจ้าแผ่นดิน ทหาร ตำรวจ
    • 3) แพศย์ ได้แก่ ชาวไร่ ชาวนา นักบัญชี นักธุรกิจ นักการธนาคาร
    • 4) ศูทร ได้แก่ กรรมกร
พิธีกรรม

    • 1) พิธีสังสการ เป็นพิธีประจำบ้าน เช่น นามกรรม (การตั้งชื่อ วิวากรรม การแต่งงาน) เป็นต้น
    • 2) พิธีศราทธ์ เป็นการทำบุญให้บรรพบุรุษที่เสียไปแล้ว


ศาสนาคริสต์

  • Chirst มาจากภาษาโรมันว่า Christius ซึ่งแปลมาจากคำว่า เมสสิอาห์ ในภาษาฮิบรู แปลว่า พระผู้ปลดเหลืองทุกข์ภัยหรือพระผู้ช่วยให้รอดพ้น คำว่า Chirst เป็นศัพท์เหมือน Prophet ศาสดาพยากรณ์ หรือปกาศกในศาสนายูดาย และตรงกับคำว่า นบี ในศาสนาอิสลาม แหล่งกำเนิดของศาสนาคริสต์มาจากดินแดนปาเลสไตน์ ค.ศ. 543 มีพัฒนาการมาจากศาสนายูดาย เพราะมีการนับถือพระเจ้าองค์เดียวกันคือ พระยะโฮวาห์ ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาแห่งความรัก สอนให้ “ จงรักพระเจ้าอย่างสุขใจ สุขความคิด สุดกำลัง และ จงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง” หรือ “ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน ให้ยื่นแก้มซ้ายให้เขาตบด้วย”

นิกายศาสนาคริสต์
    • นิกายโรมันคาทอลิก ถือเป็น สันตะปาปา (pope) เป็นประมุขของชาวคาทอลิกทั่วโลก ศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม เนื่องจากพระเยซูคริสต์ ได้มอบอำนาจการปกครองให้ เซนต์ปีเตอร์ และสืบต่อ ๆ กันจนถึงสันตะปาปา การปกครองของฝ่ายดรมันคาทอลิกแบ่งเป็นเขต ๆ เรียกว่า อัครสังฆมณฑล มีอัครสังฆมณฑลเป็นประมุข สังฆณฑลแบ่งออกเป็นเขตวัด ปกครองโดยเจ้าอาวาส ซึ่งแต่งตั้งโดยสังฆราช นับถือกันในอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส ไอร์แลนด์ ประเทศในทวิปอเมริกาใต้ สัญลักษณ์ คือ พระเยซูถูกตรึงบนไม้กางเขน
    • นิกายโปรเตสแตนท์ นิกายนี้มาจาก มาร์ติน ลูเธอร์ ได้คัดค้านการขายใบไถ่บาป กรณีที่ชาวคริตส์ทำความผิดแล้วซื้อใบไถ่บาปจะพ้นความผิดแทนการสารภาพต่อบาทหลวง ทำให้แยกไปตั้งนิกายใหม่และไม่ถือว่าสันตะปาปาแห่งกรุงโรงเป็นประมุขร่วม ไม่มีการสืบต่อ ไม่มีประมุขใหม่ ดังนั้นโปรเตสแตนท์จึงมีการแตกออกเป็นลัทธิย่อยหลายลัทธิ แต่ละลัทธิเป็นอิสระต่อกัน เช่น นิกายลูเธอร์วัน (เยอรมัน) นิกายปฏิรูป (สวิตเซอร์แลนด์) นิกายเพรสไบทีเรียน(อังกฤษ) นิกายอังกลิกัน (อังกฤษ) นิกายโปรเตสแตนท์ไม่มีนักบวช นักพรต แต่มีผู้ทำหน้าที่ศาสนาเรียกว่า ศาสนาจารย์ ซึ่งมีครอบครัวได้ สัญลักษณ์คือ ไม้กางเขน
    • นิกายกรีกออโธดอกซ์ ไม่มีประมุขระดับโลกเหมือนนิกายคาทอลิก แต่มีประมุขระดับประเทศซึ่งเป็นอิสระต่อกัน และไม่ขึ้นตรงต่อสันตะปาปา นับถือกันใน อัลบาเนีย บัลกาเรียน โรมาเนีย เซอร์เบีย กรีซ ยูเครน รัสเซีย ฯลฯ ทั้งนี้นอกายนี้มีความเชื่อร่วมกันคือ พระเยซูเป็นผู้ก่อตั้งศาสนาคริสต์ เป็นผู้สละชีวิตไถ่บาปให้มนุษยชาติ พระเยซูทรงฟื้นคืนชีพจริง เชื่อในศีลบ้างบาปหรือศีลจุ่ม และศีลมหาสนิท เชื่อในวันพิพากษาว่าเมื่อตายแล้วจะต้องไปรอรับคำพิพากษาเพื่อการลงโทษและการตอบแทนรางวัล

คัมภีร์
  • คัมภีร์เก่า (The old testament)  กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของชนชาติยิวตั้งแต่สมัยอับราฮัม ถึงสสมัยก่อนพระเยซูคริสต์ประสูติ ยอมรับทั้งชาวยิวและชาวคริสต์ แบ่งเป็น
    • 1)  เตารอตหรือโตราห์ เป็นส่วนที่บันทึกการกระทำและกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่พระเจ้าให้ชาวยิวถือปฏิบัติ
    • 2)  ศาสดาพยากรณ์ เป็นการบันทึกเรื่องราวคำสอน คำทำนายของศาสดาพยากรณ์ในสมัยต่างๆ
    • 3) ฮาจิโอกราฟฟา เป็นเพลงสดุดี สุภาษิต วรรณคดี
  • คัมภีร์ใหม่ (The New Testament ) ยอมรับกันในในหมู่ชาวคริสต์เท่าน้น แบ่งเป็น
    • 1)  พระวรสาสน์ (Gospels)  กล่าวถึงชีวิตและคำสอนของพระเยซูคริสต์ มี 4 ฉบับ คือ ฉบับมัทธิว ฉบับมาระโก ฉบับลูก ฉบับโยฮันหรือยอห์น
    • 2)  กิจกการของอัครสาวก เป็นเรื่องราวของสังคมชาวคริสต์ตั้งแต่พระเยซูถูกตรึงบนไม้กางเขนจนถึงการเผยแผ่ศาสนาของนักบุญเปาโล
    • 3) คัมภีร์จดหมายเหตุ รวบรวมจดหมายเหตุของผู้นำโบสถ์ต่างๆ มีนักบุญเปาโลเป็นผู้นำสำคัญ
    • 4)  วิวรณ์  ส่วนที่กล่าวถึงอนาคตในลักษณะการทำนายและให้กำลังใจแก่ชาวคริสต์ปฏิบัติงานในที่ต่าง ๆ
  • การเชื่อในเรื่องตรีเอกานุภาพ หมายถึง พระเจ้าองค์เดียว แต่มี 3 บุคคลหรือสามสภาวะ ได้แก่
    • พระบิดา (พระยะโฮวา) หมายถึง พระเจ้าผู้ทรงสร้างโลกและให้กำเนินแก่ชีวิตทุกชีวิต
    • พระบุตร (พระเยซู) คือ พระผู้ทรงมาเกิดเพื่อไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์
    • พระจิต (วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ ของพระบิดาและพระบุตรรวมกัน) คือ พระวญญาณอันเป็นบริสุทธิ์เป็นผู้นำมนุษย์ไปสู่อาณาจักรของพระเจ้า
บัญญัติ 10  ประการ
    • อย่างมีพระเจ้าอื่นต่อเหน้าเราเลย
    • อย่าทำรูปเคารพสำหรับตน อย่ากราบไหว้หรือปรนนิบัติรูปเหล่านั้น
    • อย่าออกนามพระยะโฮวา พระเจ้าของเจ้าเปล่า ๆ
    • จงระลึกวันซะบาโต ถือเป็นวันบริสุทธิ์ ให้ทำงาน 6 วัน และวันที่ 7 อย่ากระทำการงานสิ่งใดๆ
    • จงนับถือบิดามารดา
    • อย่าฆ่าคน
    • อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขา
    • อย่าลักทรัพย์
    • อย่าเป็นพยานเท็จต่อเพื่อนบ้าน
    • อย่าโลภเรือนของเพื่อนบ้าน หรือสิ่งใดๆ ซึ่งเป็นของของเพื่อนบ้าน

พิธีกรรม
  • พิธีกรรมในศาสนาคริสต์ คือ ศีล ซึ่งประกอบ
    • ศีลล้างบาป หรือศีลจุ่ม มีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีบาปติดตัวมา ผู้นับถือศาสนาคริสต์ทุกคนต้องผ่านพิธีนี้เสียก่อนจึงจะเป็นชาวคริสต์ที่สมบูรณ์ โดยรับครั้งเดียวซึ่งบาทหลวงจะเทน้ำลงบนศีรษะของผุ้ไปรับศีล (นิกายโปรเตสแตนท์เรียกว่า ศีลจุ่มหรือบัพติสมา)
    • ศีลกำลัง เป็นพิธีกรรมที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ผู้รับศีลต้องอยู่ในวัยที่รู้เกจุผลแล้ว ผู้ที่ทำพิธีต้องเป็นพระสังฆราชหรือพระบิดาชอบเท่านั้น โดยวางมือทั้ง 2 ลงบนศีรษะแล้วเจิมน้ำมันมะกอบที่หน้าผากเป็นรูปกางเขน
    • ศีลมหาสนิท (โปรเตสแตนท์เรียกว่า พิธีมิสซา) เป็นการรำลึกถึงการสิ้นพระชนของพระเยซูบนไม้กางเขต และเพื่อให้ได้แนบสนิทกับพระเยซู บาทหลวงผุ้ทำพิธีจะแจกขนมปังและเหล้าองุ่น (แทนเนื้อและเลือกของพระเยซู)
    • ศีลสารภาพบาป หรือศีลอภัยบาป ผู้ที่กระทำผิดต้องไปหาบาทหลวงเพื่อสารภาพถึงการกระทำผิดนั้น และมีการยกบาปนั้นให้ ส่วนโทษของบาปหรือบาปกรรมจะติดตัวไป จนกว่าจะหมดกรรมด้วยการทำความดี
    • ศีลสมรส
    • ศีลบวช
    • ศีลเจิมครั้งสุดท้ายหรือศีลเจิมผู้ป่าย
  • นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรมที่ชาวคริสต์ได้ทำ เช่น วันอิสเตอร์ เป็นวันเฉลิมฉลองในการฟื้นค้นชีพของพระเยซู วันศุกร์ก่อนจะถึงวันอิสเตอร์ ชาวคริสเตียนจะมีการเฉลิมฉลองการครบรอบที่พระเยซูถูกตรึงที่ไม้กางเขน (สิ้นพระชนม์) ซึ่งเรียกว่า God Friday หรือ God s’Triday


ศาสนาอิสลาม

  • อิสลาม แปลว่า การอ่อนน้อยถ่อมตนยอมจำนนต่อพระเจ้า มุสลิม แปลว่า ผู้ยอมมอบตนตามประสงค์พระเจ้าโดยสิ้นเชิง ผู้ให้กำเนิด คือ มูฮำมัด เกิดที่เมืองแมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย 
  • เมื่อมูฮัมมัดไปบำพํญสมาธิที่ถ้าฮิรอ เทวทูต หรือ มลาอิกะหรือกาเบรียล นามว่า ญิบรออิล หรือ   ญบรีล ได้นำโองการของอัลเลอฮมาให้อ่านความว่า 
  • “จงอ่านในนามของอันลอฮเจ้าผู้ทรงสร้างมนุษย์และสรรพสิ่งด้วยก้อนเลือก” 
  • เมื่อมีการประกาศศาสนา ภรยาชื่อ นางคอดียะ ได้เป็นมุสลิมคนแรก จากนั้นได้เผยแผ่ศาสนาอิสลามจากนครเมกกะ ไปยังเมืองยาธริบหรือเมืองเมดินะ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นฮิจเราะห์ศักราช (แปลว่าอพยพหรือหนี) อิสลามไม่เป็นเพียงศาสนาเท่านั้นแต่เป็นทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม

นิกายศาสนาอิสลามที่สำคัญ
  • นิกายชีอะห์ คำว่า ชีอะห์ แปลว่า พรรคพวกของอาลีนิกายนี้นับถือวงศ์ของอาลีซึ่งเป็นบุตรของนบีมูฮัมมัด ไม่ยอมรับว่า อบูบักรหรืออุมัรหรือคนอื่น ๆที่มิใช่วงศ์สืบเนื่องมาจากอาลีว่าเป็นกาหลิบหรือคอลีฟะที่ถูกต้อง (ผู้ปกรองระดับสูงสุดศาสนาอิสลาม)
  • นิกายซุนนะห์ คำว่า ซุนนะห์ แปลว่า ถือตนตามแบบเดิม มีการนับถือตามคำสอนเดิมอย่างเคร่งครัดไม่ยอมดัดแปลง แก้ไขใด ๆ มีการนับถืออบูบักร โอมาร์หรืออูมาร โอถมานหรืออุสมาน หรืออาลี ว่าเป็นกาหลิบที่สืบต่อจากท่านมูฮัมมัด มีการใช้หมวกสีขาวเป็นเครื่องสังเต นับถือกันในซาอุดิอารเบีย ตุรกี ไทย มาเลเซีย

คัมภีร์ 
  • คัมภีร์-กรุอาน เป็นคัมภีร์ที่มุสลิมเชื่อว่า มีความสมบูรณ์ที่สุดและเป็นฉบับสุดท้ายที่ได้รับประทานมาจากองค์อัลเลาะห์ นอกจากนี้อัลเลาะห์ยังมีการประทานคัมภีร์อื่น ๆ เช่น คัมภีร์ เตารอตหรือโตราห์ หรือพันธสัญญาเดิม  คัมภีร์อันญีลหรือพันธสัญญาใหม่ คมภีร์ซาบูร์ คัมภีร์อัล-กรุอาน
  • คัมภีร์อัล หะ ดีส เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับคำสอนและจริยวัตรของมูฮัมมัด

หลักศรัทธา 6 ประการ
  • ศรัทธาต่ออัลลอฮ
  • ศรัทธาต่อคัมภีร์ เช่น คัมภีร์อัลกรุอาน คัมภีร์เตารอต คัมภีร์อินญีล คัมภีร์ซะบูร์
  • ศรัทธาเทวทูตหรือมลาอิกะห์ มีหน้าที่สนองพระบัญชาอัลเลาะห์แตกต่างกัน
  • ศรัทธาต่อศาสนทูตหรือรอซูล หรือศาสดา ได้แก่ มูฮัมมัด
  • ศรัทธาต่อวันสิ้นโลกหรือ กิยามะห์ เนื่องจากโลกไม่จีรังยั่งยืนต้องมีการแตกสลาย
  • ศรัทธาต่อการกำหนดสภาวการณ์ มีทั้งกฎตายตัวหรือกฎธรรมชาติ และกกไม่ตายตัวซึ่งมนุษย์สามารถเลือกได้

หลักปฏิบัติ 5 ประการ
  • หลักปฏิญาณตน ซึ่งเป็นหัวใจของมุสลิม โดยกล่าวคำปฏิญาณว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ และมูฮัมมัดคือศาสนทูตแห่งพระองค์”
  • การละหมาดหรือการนมัสการพระเจ้า คือ การแสดงความเคารพ ความภักดีต่อพระเจ้า เป็นการขัดเกลาจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา โดยทำการละหมาด 5 เวลา คือ ย่ำรุ่ง กลางวัน เย็น พลบค่ำ และกลางคืน การละหมาดทำที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นมัสยิดหรือสุเหร่า แต่ขอให้เป็นที่สะอาด โดยหันหน้าไปทิศทางเดียวกันคือ ที่ตั้งของกะบะฮ์ ซึ่งเรียกว่า กิบลัต สำหรับประเทศไทยหันหน้าไปทิศตะวันตกและก่อนละหมาดทั้งหญิงและชายต้องทำร่างกายให้สะอาดเสียก่อน
  • การถือศีลอด หมายถึง การละเว้นจากการกิจ การดื่ม การมีเพศสัมพันธ์ ตลอดถึงการรักษาอวัยวะทุกส่วนให้พันจากความชั่ว ทั้งกาย วาจาและใจตั้งแต่พระอาตย์จนถึงพระอาทิตย์ตกในเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ของฮิจเราะห์ศักราช) จุดมุ่งหมายการถือศีลอดคือ การฝึกฝนทางร่างกายและจิตใจให้มีความอดทน เห็นอกเห็นใจคนจน ทุกคนที่เป็นมุสลิมต้องถือศีลอดยกเว้นคนมีครรภ์ ป่วย ชรา อยู่ระหว่า การเดินทาง หญิงมีประจำเดือน บุคคลที่ทำงานหนัก เช่น กรรมก ซึ่งต้องศีลอดชดใช้ตามจำนวนวันที่ขาด
  • การบริจาคซะกาด หมายถึง การจ่ายทานบังคับจากผู้มีทรัพย์สินครบรอบ 1 ปี เมื่อเกินจำนวนที่กำหนดไว้ ถ้าเป็นเงินสดหรือสินค้าจะต้องจ่ายจำนวนที่เหลือเก็บร้อยละ 2.5 ของมูลค่าทรัพย์สินนั้น จุดมุ่งหมายของการบริจาคซะกาด คือ เพื่อให้ทรัพย์ สินที่หามาได้และที่มีอยู่เป็นทรัพย์ที่บริสุทธิ์ตามหลักการของอิสลามและเป็นการขัดเกลาจิตใจผู้บริจาคให้สะอาดบริสุทธิ์ ลดความเห็นแก่ตัว ไม่เกิดละโมบ
  • การประกอบพิธีฮัจญ์ คำว่า ฮัจญ์ หมายถึง การเดินทางไปยังจุดมุ่งหายเฉพาะซึ่งคือ กะบะก์ หรือบัยดุลลอดฮ์ ซาอุดิอาระเบีย โดยต้องเดินเวียนรอบ 7 รอบและจูบหินดำหรือทำท่าลูบหินดำแล้วเอามาจูบ เป็นหลักปฏิบัติเฉพาะบุคคลที่มีความสามารถเท่านั้นคือ สุขภาพแข็งแรงทั้งกายและจิตใจ และเส้นทาง ที่เดินทางไปมีความปลอดภัย จุดมุ่งหมายของการประกอบพิธีฮัจญ์คือ การเกิดสัมพันธภาพและภารดรภาพของมุสลิมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การทดสอบในการเสียสละ การฝึกความอดทนทั้งร่ายกายและจิตใจ การสำรวมตน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น