วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

3. ลักษณะสำคัญของพระพุทธศาสนา

3. ลักษณะสำคัญของพระพุทธศาสนา

1. ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา
ประธานาธิบดีอับราฮัม สินคอล์น แห่งสหรัฐอเมริกา ได้แสดงวาทะเกี่ยวกับคำว่า ประชาธิปไตยไว้ว่า “เป็นการปกครองชองประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน”
จากวาทะดังกล่าว เราอาจสรุปความหมายของประชาธิปไตยได้อย่างกว้าง ๆ ว่า เป็นการปกครองที่ถือว่าบุคคลทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกฐานะและทุกอาชีพ มีเสรีภาพ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อสังคมและบ้านเมืองเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการปกครองและการดำเนินชีวิตของตนเอง
โดยทั่วไปถือว่า ประเทศกรีกเป็นต้นกำเนินการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเริ่มต้นจากการที่ไซโลมอน (594 ปีก่อน ค.ศ.) ได้แก่ไขรัฐธรรมนูญจัดตั้งศาลประชาชนขึ้นมาภายหลังคริสเธนิส (509 ปีก่อน ค.ศ.) ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญของนครรัฐกรีกอีก ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น และในยุคต่อมาเมื่อ 461 ปีก่อน ค.ศ. เบริคลัส ได้แก้ไขลักษณะการเมืองการปกครองของนครรัฐให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เช่น ชาวกรีกทุกคนสามารถวิจารณ์การบบริหารงานของผู้ปกครองนครรัฐได้โดยไม่ถือเป็นความผิด การตัดสินใจกระทำการใดใช้วิธีลงมติแล้วทำตามเสียงข้างมาก ราชการนครรัฐถือเป็นเรื่องสำคัญที่ชาวเมืองสนในและกระทำก่อนเรื่องส่วนตัว บุคคลทุกคนไม่ว่าจะมีตำแหน่ง ฐานะสูงส่งเพียงไรก็สามารถออกเสียงได้เพียง 1 เสียงเท่าเทียมกับสามัญชนทั่วไป เป็นต้น
ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา สามารถวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้
1.  พระพุทธเจ้าประทานความเป็นใหญ่แก่สงฆ์ เมื่อมีผู้มาขอบวชเพิ่มจำนวนมากขึ้น พระพุทธเจ้าทรงเลิกการประทานอุปสมบทด้วยพระองค์เอง ทรงประทานความเป็นใหญ่ให้พระสงฆ์ดำเนินการอุปสมบทเอง โดยพระสงฆ์เป็นผู้คัดเลือกและสอบคุณสมบัติผู้มาขอบวชกันเองในการทำพิธีอุปสมบทนั้น พระสงฆ์ทั้งปวงต้องมีมติเห็นด้วยเป็นเอกฉันท์ ถ้ามีการคัดค้านแม้เพียงหนึ่งเสียงถือว่าการอุปสมบทเป็นโมฆะ
2.  พระพุทธเจ้าเองก็ทรงเคารพระสงฆ์ เมื่อประทานความเป็นใหญ่หรือความเป็นอธิปไตยให้แก่พระสงฆ์แล้ว พระองค์เองก็มิได้ทรงถือว่าเป็นพระศาสดาผู้คอยชี้ขาดบงการตรงกันข้ามพระองค์กลับเคารถมติสงฆ์ ดังพุทธวจนะตรัสยืนยันว่า “เมื่อใดสงฆ์เติบใหญ่ขึ้น เมื่อนั้นเราตถาคตก็เคารพสงฆ์” (องฺ จตุกก. 21/21/27)
3.  พระสงฆ์โดยภาพรวมมีความสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด สำคัญกว่าพระศาสดาในฐานปัจเจกชน จะเห็นได้จากการตรัสแนะนำนางประชาบดีโคตรมี ผู้นำอาหารมาถวาย พระองค์ให้ถวายพระสงฆ์แทน (ม.อุ. 14/707/457) และตรัสไว้ในที่อื่นว่า “การถวายทานแก่พระพุทธเจ้ามีผลสู้ถวายแก่พระสงฆ์ไม่ได้” (องฺ. นวก. 23/224/407)
4.  กิจกรรมของภิกษุสงฆ์ทุกรูปจะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญ เช่นการประชุมทำอุโอสถสังฆกรรม (ประชุมฟังสวดปาติโมกข์ หรือสิกขาบท 227 ข้อ) ทุกกึ่งเดือน เพื่อตรวจสอบทบทวนการประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ภิกษุผู้เป็นสมาชิกทุกรูปจะต้องเข้าประชุมพร้อมเพรียงกัน แม้ผู้ที่เป็นพระอรหันต์แล้ว (ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องมาฟังก็ได้ เพราะพระอรหันต์สิ้นกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้ว ไม่จำเป็นต้องทบทวนศีลของตนก็ได้) ก็ต้องเข้าประชุม ทั้งนี้เพราะสังฆอาณา (อำนาจของสงฆ์) เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเคารพ
5.  ในการตัดสินปัญหาที่มีความคิดเห็นแตกออกเป็นสองฝ่าย ต้องมีการลงคะแนนเพื่อดูว่าเสียงข้างมากไปทางไหน ให้ตัดสินโดยถือเอาเสียงข้างมากนั้นเป็นข้อยุติ วิธีนี้เรียกว่า “เยภุยยสิกา”
6.  ภิกษุทุกรูปมีสิทธิในการเข้าประชุม มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นทั้งในทางคัดค้านและในทางเห็นด้วย
7.  ภิกษุทุกรูปจะต้องเข้าประชุม ถ้าเข้าประชุมไม่ได้ เช่น อาพาธ จะต้องมอบฉันทะไปประกาศแก่สงฆ์ว่า ผู้นั้นผู้นี้มาประชุมไม่ได้ ขอบมอบฉันทะ คือ อนุมัติให้สงฆ์ทำการประชุมได้โดยความยินยอมของตน
8.  เมื่อการประชุมกำลังดำเนินไปอยู่ ถ้าภิกษุรูปได้รูปหนึ่งมีธุระด่วน เช่น สรีรกิจ (ขอไปถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ) จะลุกออกจากที่ประชุม ต้องให้ฉันทะ คือ อนุญาตให้สงฆ์ดำเนินการต่อไปได้โดยความยินยอมของต้น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการพูดขึ้นภายหลังว่า สงฆ์ทำกรบางอย่างลงไปโดยภิกษุรูปนั้นรูปนี้ไม่เห็นด้วย
9.  ในกากระทำสังฆกรรมต่าง ๆ พระสงฆ์ยึดถือประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็ฯที่ตั้ง บนพื้นฐานของธรรมาธิปไตยถือความถูกต้องยุติธรรมเป็นหลัก พระพุทธเจ้ามิได้ใช้อำนาจในฐานะพระศาสดาเข้ามาแทรกแซง หรือชี้นำแต่ประการใด
บรรณานุกรม
วิทย์  วิศทเวทย์ และ เสถียรพงษ์ วรรปก. หนังสือสังคมศึกษา รายวิชา ส 048 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศศึกษาปีที่ 4 (ม.4) พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์ ,  2542.
2
พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง
ศรัทธา
ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อ ความเชื่อที่เรียกว่าศรัทธาในพระพุทธศาสนานั้นจะต้องเป็นความเชื่อมั่นในคุณงามความดีที่ประกอบด้วยเหตุผล ผิดจากนี้แล้วไม่นับว่า ศรัทธา ยกตัวอย่าง มีคนมาบอกว่า ถ้าอยากเรียนหนังสือเก่ง สอบได้คะแนนดี เรียนจบแล้วได้งานทำที่ก้าวหน้า ประสบความสำเร็จในชีวิต ให้ท่องคาถาบทใดบทหนึ่งวันละร้อยครั้ง ก่อนจะออกจากบ้านทุกครั้งให้สูดลมหายใจเข้าเต็มปอดแล้วปล่อยออกมาอย่างแรง ถ้าลมออกคล่องทางรูจมูกข้างไหน ให้ก้าวเท้าข้างนั้นออกจากธรณีประตูก่อน เราเชื่อและทำตาม ความเชื่อย่างนี้ไม่จัดเป็นศรัทธาเพราะไม่มีเหตุผล คนที่ต้องการเรียนหนังสือเก่งมัวท่องแต่คาถาไม่สนใจท่องหนังสือแทนที่จะเรียนเก่ง สอบได้คะแนนดีจะพาลสอบตกได้ง่าย ๆ แต่ถ้าใครพูดว่า ถ้าอยากประสบความสำเร็จดังกล่าวข้างต้นนั้นต้องขยันหมั่นเพียร ศึกษาหาความรู้ ตั้งใจฟังครูอาจารย์สอน ฟังแล้วนำมาขบคิดพินิจพิจารณาเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น เรื่องใดยังไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่กระจ่างก็ซักถาม เมื่อได้ความรู้ถูกต้องแน่นอนแล้วให้จดบันทึกกันลืม ผู้มีวิญญาณแห่ง “ผู้ใฝ่รู้” เช่นนี้จะประสบความสำเร็จในการเรียนแน่นอน เราเชื่อและกระทำความนี้ ความเชื่ออย่างนี้จัดเป็นศรัทธา ที่พึงประสงค์ได้ แม้ว่าจะเป็นความเชื่อในเรื่องธรรมดาสามัญก็ตาม เพราะความเชื่อเช่นนี้มีครบองค์ประกอบ 2 อย่าง คือ
1.  อยู่บ้านพื้นฐานของเหตุและผล
2.  สิ่งที่เชื่อและกระทำเป็นสิ่งที่ดีงาม หรือเป็นไปเพื่อความดีงามแห่งชีวิต
ศรัทธาที่จะนำไปสู่การพัฒนามีลักษณะ 3 ประการ ซึ่งจะขออธิบายโดยย่อดังต่อไปนี้
1. เชื่อมั่นในความดีงามของมนุษย์ หมายถึง เชื่อมั่นว่ามีหลักแห่งความดีงามของมนุษย์ และความดีงามนั้นเป็นไปตามเหตุปัจจัยมิใช่มีขึ้นมาเองโดยบังเอิญ เชื่อมั่นว่าความดีงามนั้นสามารถสร้างขึ้นได้ หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่ามนุษย์เรามีศักยภาพจะพัฒนาตนให้บรรลุถึงความดีงาม นั้นได้ด้วยความพากเพียรของตนเอง มิใช่ด้วยการอ้อนวอนร้องขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ บันดาลให้เป็นไป โดยมีพระพุทธเจ้าทรงทำให้เป็นตัวอย่าง และเชื่อมั่นว่ามีกลุ่มบุคคลที่ปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธองค์แล้วได้ลุถึงความดีงามนั้นจริง ๆ ปรากฏเป็นสักขีพยานอยู่
2.  เชื่อมั่นในกฎแห่งการกระทำและผลของการกระทำ หมายถึงเชื่อมั่นว่า ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอย ๆ โดยไม่มีเหตุปัจจัยทำให้เกิด เมื่อกระทำอะไรลงไปแล้วย่อมจะมีผลของการกระทำนั้นตามมาไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ยกตัวอย่าง สมศักดิ์เป็นเด็กขยันเรียน ขยันทำการบ้านทบทวนตำรับตำราอยู่เสมอ การกระทำของสมศักดิ์นี้เป็นเหตุ สมศักดิ์ย่อมได้รับผลของการกระทำแน่นอนโดยตรงก็คือ “ไม่ความเป็นคนขยัน” ได้ความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจ ผลโดยอ้อมก็คือสมศักดิ์อาจสอบได้คะแนนดี ครูอาจารย์ เพื่อน ๆ หรือคนอื่น ๆ ที่รู้ก็อาจชมเชยชื่นชมสมศักดิ์ (พึงเข้าใจว่า คนขยัน เรียนดี มีความรู้ความเข้าใจในวิชาที่เรียน ไม่จำเป็นจะต้องสอบได้คะแนนดีก็ได้ เพราะการสอบของเขาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ครูผู้ตรวจให้คะแนนหรือเครื่องตรวจคะแนนผลของการเรียนจึงถือเป็นผลโดยอ้อมของการเรียนดี)
3.  เชื่อมั่นมนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำและผลของการกระทำนั้น ข้อนี้สืบเนื่องมาจากข้อ 2 คือ ถ้าคนเชื่อว่ากระทำอะไรลงไปแล้วไม่ว่าดีหรือชั่วย่อมได้รับผลของกากรระทำนั้นไม่โดยตรงก็โดยอ้อ จะทำให้คนเป็นคนระมัดระวังตนอย่างดี มีความละเอียดรอบคอบ ไม่เผลอทำอะไรตามอำนาจความอยากความต้องการ เพราะเขาเชื่อว่าถ้าทำอะไรไม่ดีลงไปเขาจะต้องรับผลของการกระทำนั้น คนที่เชื่อมั่นอย่างนี้ย่อมเป็นคนมีความรับผิดชอบสูง คือ รับทั้งผิดรับทั้งชอบ อันจักเกิดขึ้นจากการกระทำของตน ไม่เหมือนคนส่วนมากที่ยินดีรับเฉพาะ “ชอบ” ไม่ยอมรับ “ผิด” คนที่คิดเสมอว่าตนเองจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำความจนเองจะไม่ทำความชั่วเสียหายได้ง่าย ๆ เพราะเขาจะคิดล่วงหน้าไปไกลว่า ถ้าทำลงไปแล้วคนอื่นเขารู้เข้าเขาจะว่าอย่างไร เกียรติยศ ชื่อเสียงของเราจะมิเสียหายหรือ ตายไปแล้วจะมิตกนรกหรือ อย่างนี้เป็นต้น เขาพร้อมจะปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมของตนให้ดีขึ้นเสมอ
ปัญญา
ปัญญา แปลว่า รู้ทั่วถึง หมายความว่า ความรู้ในเรื่องใดถ้าไม่รู้ไม่ทั่วถึง ไม่ทะลุปรุโปร่งไม่รอบด้าน ไม่นับเป็นปัญญาที่แท้ ความรู้มีอยู่ 2 ประเภท คือ ความรู้ที่มาตั้งแต่เกิด (สหชาติกปัญญา) และความรู้ที่มีขึ้นด้วยการศึกษาเล่าเรียนและฝึกฝน (โยคปัญญา) อย่างแรกเป็นความรู้พื้นฐานที่ทุกคนพึงมีมากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่บุคคล บางคนก็มีความรู้พิเศษที่คนอื่นไม่มีซึ่งภาษาไทยเรียกว่า “พรสวรรค์” เช่น มีความสามารถวาดภาพได้งดงามทั้ง ๆ ไม่ได้เรียนมาจากใครเลย แต่กรณีอย่างนี้มีน้อย ความรู้ประเภทหลังนี้เท่านั้นที่ต้องการเน้นในที่นี้ เพราะความรู้ความฉลาดเป็นเรื่องที่ฝึกฝนอบรมกันได้ เรียกว่า “พรแสวง” คือ แสวงหาเอาภายหลังได้ ดังพระบาลีรับรองไว้ว่า “ปัญญามีได้เพราะการฝึกฝนพัฒนา ปัญญาเสื่อมไปเพราะไม่ฝึกฝนพัฒนา”
ปัญญาหรือความรู้ที่ควรพัฒนาลักษณะ ซึ่งขออธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบดังนี้
1.  ปัญญารู้จักความเสื่อม (อปายโกศล) หมายถึง รู้ว่าอะไรคือความเสื่อม อะไรคือเหตุทำให้เกิดความเสื่อมด้วย รู้เพียงแง่ใดแง่หนึ่งยังไม่ถือว่าเป็นอปายโกศล เช่น บางคนเงินเดือนไม่พอจ่าย ชักหน้าไม่ถึงหนัง เป็นหนี้เป็นสินมากมาย ต้องทะเลาะกับภรรยาเพราะเรื่องเงินไม่พ่อใช้เสมอ เข้ารู้ว่ามีปัญหา มีความทุกข์ เขาคิดว่าความทุกข์ที่เขาได้รับนี้ เพราะรัฐบาลเป็นตนเหตุ รัฐบาลจ่ายเงินเดือนให้เขาน้อยเกิดไปจึงไม่พอใช้จ่าย แต่เขาหารู้ไม่ว่าสาเหตุแท้จริงก็คือการที่เขาหมกมุ่นอยู่ในอบายมุข ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ไม่รู้ประหวัดอดออม ความรู้จักแต่ความเสื่อม แต่ไม่รู้ลึกถึงสาเหตุแห่งความเสื่อมอย่างนี้ยังไม่พอจะต้องพิจาณาจนทราบสาเหตุที่แท้จริงของความเสื่อมด้วย
2.  ปัญญารู้ความเจริญ (อายโกศล) ถือ รู้ว่าอะไรคือความดี ความเจริญที่แท้ และก็รู้ด้วยว่าอะไรคือสาเหตุให้เกิดความดีความเจริญนั้น คนที่รู้ว่าความร่ำรวย ความมีหลักฐานมั่นคงเป็นความดีระดับโลกอย่างหนึ่งที่มนุษย์ปุถุชนพึงมีพึงได้ แต่คิดไปว่าการจะร่ำรวยมีหน้ามีตาในสังคมนั้นจะต้องเป็นนักฉวยโอกาส รู้จักเอารัดเอาเปรียบคน หรือขายของหนีภาษี หรือสิ่งเสพย์ติด เป็นต้น อย่างนี้ไม่เรียกว่าเป็นอายโกศลเพราะรู้แต่อะไรคือความเจริญ แต่สาเหตุให้ลุถึงความเจริญด้วยโภคทรัพย์นั้นไม่ถูกต้อง จริงอยู่คนทุจริตคดโกงนั้นร่ำรวยได้และร่ำรวยเร็วด้วย แต่มิใช่สาเหตุที่แท้จริงเพราะผิดกฎหมายและศรีธรรม ความรู้ว่าอะไรคือความเจริญ อะไรคือสาเหตุให้เกิดความเจริญอย่างแท้จริงเป็นปัญญาประการที่ 2
3.  ปัญญารู้จักวิธีการและเหตุแห่งความเสื่อมและสร้างเหตุแห่งความเจริญ (อุปายโกศล) คือ รู้ทั้งสองด้าน เรียกว่า “รู้ครบวงจร” คนที่รู้ความเสื่อมและเหตุแห่งความเสื่อม อาจเพียงระมัดระวังไม่ทำความชั่วเท่านั้น ไม่ทำความดีหรือสร้างสรรค์ประโยชน์อะไรให้แก่คนและสังคมก็ได้ เขาอาจเป็นคนดีเพียงเพราะไม่ทำความชั่วความผิดเท่านั้น แต่มิได้ทำความดีอะไรเพิ่มพูนขึ้นมาใหม่และในบางกรณีอาจระวังตัวแจจนกลายเป็นโทษก็ได้ ยกตัวอย่าง ข้าราชการะดับสูงรู้ว่าการเซ็นอนุมัติอะไรง่าย ๆ อาจทำให้ผิดพลาดถึงขั้นออกจากงานหรือคิดคุกได้ จึงระมัดระวังตัวแจไม่ยอมเซ็นอนุมัติอะไรง่าย ๆ แม้แต่เรื่องที่เป็น “กิจวัตรประจำวัน” จึงอาจทำให้งานล่าข้างเกิดความเสียหายแก่ราชการได้ในบางเรื่องบางกรณี หรือเรื่องพื้น ๆ เช่น บางคนรู้ว่าอาหารที่ไม่สะอาดทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ รังเกียจไปหมดทุกอย่างว่าอาจไม่สะอาดพอจึงไม่ยอมกินอะไรง่าย ๆ ผลที่สุดก็อาจป่วยไข้หรือตายเพราะ “โรคสะอาด” ก็เป็นได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้ามองแต่ในแง่ความเจริญและเหตุแห่งความเจริญอย่างเดียวก็อาจทำให้ไม่ระมัดระวัง เพราะคิดแต่ละได้ประโยชน์ก็ได้ ยกตัวอย่าง เช่น ชาวนาชาวสวนเห็นที่ดินราคาแพงขึ้นคิดว่าเป็นโอกาสได้เงินมหาศาล จึงขายไร่นาที่เป็นมรดกตกทอดมานานได้เงินหลายสิบล้านบาท แรก ๆ ก็แบ่งขายแต่เมื่อเห็นว่าได้ราคาดีมากจึงขายจนหมด เพราะไม่มีความรู้ในการบริหารเงินจำนวนมากขนาดนี้ จึงเอาเงินไปซื้อรถปิ๊กอัพบ้าง จักรยายยนต์บ้าง แจกลูกหลานคนละคันสองคัน ซื้อวัตถุอำนวยความสะอวกบำรุงบำเรอชีวิตมากมาย ไม่นานเงินที่ได้จากขายนาขายสวนก็ร่อยหรอหมดไป ในที่สุดก็มาเช่านายทุนทำกินบนที่ดินดั้งเดิมของตนนั้นเอง อย่างนี้เรียกว่ามองแต่ผลที่จะได้ มองเห็นแต่ความเจริญด้านเดียว ไม่รู้จักมองด้านเสื่อมซึ่งอาจจะตามมาได้
ผู้ที่ฉลาดแท้จริงจะต้องมีปัญญาทั้ง 3 ประการ คือ รู้ทางเสื่อมและผลของทางเสื่อม รู้ทางเจริญและผลของทางเจริญ และรู้อุบายหรือวิธีแก้และป้องกันความเสื่อม และรู้วิธีสร้างความเจริญและรักษาความเจริญให้คงอยู่ ตลอดถึงส่งเสริมให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกด้วย
สรุปในตอนนี้ก็คือพระพุทธศาสนาเน้นว่าศรัทธาที่ถูกต้องจะต้องเป็นความเชื่อมั่นในความดีงามของมนุษย์ เชื่อมั่นในการกระทำและผลของการกระทำ เชื่อมั่นว่าเราต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง ศรัทธาที่ถูกต้องจะต้องไม่ใช่ความเชื่อ “ฝังหัว” อย่างมืดบอดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หากแต่เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา รู้ผิดชอบชั่วดี รู้ทางเสื่อมทางเจริญ และรู้วิธีละทางเสื่อมสร้างสรรค์ทางเจริญ
บรรณานุกรม
วิทย์  วิศทเวทย์ และ เสถียรพงษ์ วรรปก. หนังสือสังคมศึกษา รายวิชา ส 0410พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศศึกษาปีที่ 5 (ม.5) พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์ ,  2544.
3. หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักการวิทยาศาสตร์
หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์มีทั้งส่วนสอดคล้องกันและส่วนที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้
1. ความสอดคล้องกัน
1.1  ในด้านความเชื่อ วิทยาศาสตร์ถือหลักว่าก่อนจะเชื่ออะไรนั้นจะต้องมีการพิสูจน์ให้เห็นจริงได้เสียก่อน วิทยาศาสตร์เชื่อในเหตุผล ไม่เชื่ออะไรลอย ๆ และต้องการหลักฐานมายืนยัน วิทยาศาสตร์ไม่อาศัยศรัทธาแต่อาศัยเหตุผล เชื่อการทดลองว่าให้ความจริงแก่เราได้ แต่ไม่เชื่อการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะทุกอย่างดำเนินอย่างมีกฎเกณฑ์ มีเหตุผล และวิทยาศาสตร์อาศัยปัญญาและเหตุผลที่ตัวตัดสินความจริง
พระพุทธศาสนาก็มีหลักความเชื่อเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ ดังหลักคำสอนที่ปรากฏในการลามสูตร พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า การจะเชื่ออะไรแก่ไหนนั้นจะต้องทดลองพิสูจน์ด้วยตนเอง โดยอาศัยสติ ปัญญาและเหตุผล แต่อย่างเชื่อโดยวิธีดังต่อไปนี้ คือ
(1)  อย่าเพิ่งปลงในเชื่อเพียงเพราะการฟังตามกันมา
(2)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการถือสืบ ๆ กันมา
(3)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการเล่าลือ
(4)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการอ้างคัมภีร์
(5)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะนึกคิดเอาเอง
(6)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการคาดคะเนเอา
(7)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการตรึกตรอง
(8)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะตรงกับความเห็นของตน
(9)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะรูปลักษณะน่าเชื่อ
(10)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะท่านเป็นครูของเรา
และพระองค์ทรงสอนต่อไปว่า เมื่อใดที่เราอาศัยปัญญาทดสอบด้วยตนเองแล้วเห็นว่าคำสอนใดเป็นคำสอนที่ดีมีคุณประโยชน์แล้วจึงค่อยเชื่อ ทรงสอนมิให้เชื่ออย่างงมงาย แต่เน้นการทดสอบและปฏิบัติ เมื่อทดสอบได้ผลทางปฏิบัติแล้วจึงเชื่อ
พระพุทธศาสนาสอนเรื่องศรัทธาเหมือนกัน แต่ศรัทธามิใช่วิธีสุดท้ายที่จะตัดสินว่าความจริงคืออะไร ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นเพียงเครื่องชักจูงให้คนเข้าไปทดสอบความจริง แต่ตัวที่ตัดสินความจริงคือ “ปัญญา” ในคำสอนเรื่องมรรคมีองค์ 8 อันเป็นหนทางที่จะพามนุษย์ไปสู่นิพพาน ซึ่งเป็นความจริงอันสูงสุดนั้น ไม่ปรากฏว่ามีศรัทธาอยู่ด้วย ในการสอนหลักธรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนนั้น หากในหลักธรรมใดมีศรัทธาอยู่อยู่จะต้องมีปัญญากำกับอยู่เสมอ เช่น พละ 5 มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ในหลักอริยทรัพย์มีศรัทธา ศีล หิริโอตตับปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา เป็นต้น
1.2  ในด้านความรู้ ทั้งวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนายอมรับความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ “ประสบการณ์” หมายถึง การที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้ประสบกับความรู้สึกนึกคิดบางอย่างด้วย เช่น รู้สึกดีใจ รู้สึกอยากได้ เป็นต้น วิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากประสบการณ์ คือ จากการที่ได้พบเห็นสิ่งต่าง ๆ แล้วเกิดความอยากรู้อยากเห็นก็แสวงหาคำอธิบาย วิทยาศาสตร์จะไม่เชื่อหรือยึดถืออะไรล่วงหน้าอย่างตายตัว แต่จะอาศัยการทดสอบด้วยประสบการณ์สืบสาวไปเรื่อย ๆ จะไม่อ้างอิงถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ที่อยู่นอกเหนือประสบการณ์และการทดลอง
พระพุทธองค์ก็ทรงเริ่มคิดจากประสบการณ์ คือ ประสบการณ์ที่ได้เห็นความเจ็บ ความแก่ ความตาย และที่สำคัญที่สุดคือ ความทุกข์ พระองค์มีพระประสงค์ที่จะค้นหาสาเหตุของทุกข์ ในการค้นหานี้พระองค์มิได้เชื่ออะไรล่วงหน้าอย่างตายตัว ไม่ทรงเชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ที่จะให้คำตอบได้ แต่ได้ทรงทดลองโดยอาศัยประสบการณ์ของพระองค์เอง ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์มีส่วนหนึ่งที่ต่างกันเพียงเล็กน้อยในเรื่องนี้ คือ วิทยาศาสตร์เน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิดจากประสบการณ์ด้านประสาทสัมผัส (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ส่วนพระพุทธศาสนาเน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิดจากประสบการณ์ทางจิตใจ
2.  ความแตกต่าง
2.1  มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ วิทยาศาสตร์มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ต้องการรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุอะไรเป็นผลที่ตามมา เช่น เมื่อเกิดฟ้าผ่าขึ้น ต้องรู้ว่าอะไรคือสาเหตุของฟ้าผ่า และผลที่ตามมาหลังจากฟ้าผ่าแล้วจะเป็นอย่างไร
พระพุทธศาสนาก็มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน แต่ต่างตรงที่พระพุทธศาสนาเน้นเป็นพิเศษเกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์มากกว่ากฎเกี่ยวกับสิ่งที่ไร้ชีวิต จุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาคือสอนให้คนเป็นคนดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้น
2.2  ต้องการเรียนกฎธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ต้องการเรียนรู้กฎธรรมชาติและหาทางควบคุมธรรมชาติหรือเอาชนะธรรมชาติ พูดอีกนัยหนึ่ง วิทยาศาสตร์เน้นการควบคุมธรรมชาติภายนอก แต่พระพุทธศาสนาสอนให้คนควบคุมภายในจิตใจตัวเอง ลำดับแต่ความสามารถที่ควบคุมธรรมชาติได้ ไม่อาจทำให้ความสงบสุขเกิดขึ้นในโลกมนุษย์ มนุษย์ต้องรู้จักควบคุมตัวเองให้มีจิตใจดีงามด้วย สันติสุขที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ วิทยาศาสตร์มุ่งปรับธรรมชาติ แต่พระพุทธศาสนามุ่งปรับจิตใจคน
2.3  ยอมรับโลกแห่งสสาร วิทยาศาสตร์ยอมรับโลกแห่งสสารที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ว่ามีจริง โลกที่อยู่พ้นจากนั้นวิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับ (ซึ่งความจริงวิทยาศาสตร์มิได้ปฏิเสธ เพียงแต่ยังไม่ยอมรับ เพราะวิทยาศาสตร์เชื่อว่าประสาทสัมผัสเป็นเครื่องมือสุดท้ายที่จะตัดสินความจริง
ส่วนพระพุทธศาสนาชี้ว่ามีสัจธรรมสูงสุด (นิพพาน) ซึ่งเป็นสภาวะที่ประสาทสัมผัสของมนุษย์ปุถุชนที่เต็มไปด้วยกิเลสตัณหาไม่สามารถจะรับรู้ได้ พระพุทธศาสนาแบ่งสิ่งที่มีอยู่จริงสองพวกใหญ่ ๆ คือ “สังขตธรรม” (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง) และ “อสังขตธรรม” (สิ่งที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง) คือนิพพาน วิทยาศาสตร์ยอมรับว่าสังขตธรรมนั้นมีจริง แต่อนังขตธรรมอยู่เนือการรับรู้ของวิทยาศาสตร์
ส่วนสัจธรรมสนพระพุทธศาสนานั้น มีทั้งที่สามารถแสดงให้ประจักษ์เป็นสาธารณะได้ และไม่สามารถแสดงให้ประจักษ์เป็นสาธารณะ แต่แสดงโดยการประจักษ์ใจตนเองได้ (หมายถึง มีทั้งที่เราสามารถรับรู้ด้วยตาและรับรู้ด้วยใจ) ความจริงระดับต้น ๆ และรับกลาง ใคร ๆ ก็อาจเข้าใจและเห็นจริงได้ เช่น คนที่โลภมาก ๆ อิจฉาริษยาเขามาก ๆ ไม่มีความสงบสุขแห่งจิตใจอย่างไรบ้าง คนที่มีเมตตาไม่ปรารถนาร้ายต่อใคร ๆ มีความสุขไม่มีเวรไม่มีภัยอย่างไรบ้าง ความจริงเหล่านี้ล้วนสามารถแสดงให้ประจักษ์ได้ชี้ให้ดูตัวอย่างได้ แต่ปรมัตถธรรมอันสูงสุดนั้นผู้ที่ได้พบแล้วยากจะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ เป็นสภาวะที่ผู้รู้เองเห็นจะพึงประจักษ์เฉพาะตัว
2.4  มุ่งความจริงมาตีแผ่ วิทยาศาสตร์นั้นมิได้สนใจเรื่องศีลธรรมเรื่องความดีความชั่ว สนใจเพียงค้นเอาความจริงมาตีแผ่ให้ประจักษ์เพียงอย่างเดียว เช่น วิทยาศาสตร์ค้นพบเรื่องการระเบิด แต่ควรระเบิดอะไร ไม่ควรระเบิดอะไร ไม่อยู่ในขอบข่ายวิทยาศาสตร์ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์จึงมีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์
ส่วนคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นเน้นเรื่องศีลธรรม ความดีความชั่ว มุ่งให้มนุษย์มีความสุขเป็นลำดับขั้นไปเรื่อง ๆ จนถึงความสงบสุขอันสูงสุดคือนิพพาน
การคิดตามนับแห่งพระพุทธศาสนาและการคิดแบบวิทยาศาสตร์
กระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์แยกได้ 6 ขั้นตอน ดังนี้
(1)  ตั้งปัญหาให้ชัดเจน คือ ดูว่าปัญหาคืออะไรแน่
(2)  ตั้งคำตอบชั่วคราวขึ้นเพื่อทดสอบ คำตอบชั่วคราว คือ คำตอบที่คิดว่าถูกต้องที่สุดที่ความรู้ในขณะนั้นจะให้ได้
(3)  รวบรวมข้อมูลที่คิดว่าเกี่ยวข้อง
(4)  วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบคำตอบชั่วคราวว่าผิดหรือถูก
(5)  ถ้าปรากฏว่าคำตอบชั่วคราวนั้นถูก ก็รับเป็นคำอธิบายหรือเป็นทฤษฎีไว้จนกว่าจะมีข้อมูลใหม่มาหักล้าง ถ้าคำตอบชั่วคราวนั้นผิดก็ต้องปรับปรุงหาคำตอบใหม่
(6)  นำคำอธิบายในข้อ (5) ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา
ยกตัวอย่างเช่น
1.  ปัญหาเกิดขึ้น คือ ต้นมะม่วงที่บ้านเราใบแห้งโกร่น ไม่ออกผล
2.  ตั้งคำตอบชั่วคราวเพื่อทดสอบขึ้นว่า “ทั้งที่เป็นเพราะไม่ฉีดยาฆ่าแมลง”
3.  รวบรวมข้อมูล คือ ถามเพื่อนบ้านที่ปลูกมะม่วงพันธ์เดียวกับเราหลายต้น ว่าเขาบำรุงต้นมะม่วงอย่างไรจึงออกผล ซึ่งจะได้คำตอบว่าเขารดน้ำ ใส่ปุ๋ย และฉีดยาฆ่าแมลง
4.  วิเคราะห์ข้อมูลแล้วเห็นว่า น้ำเราก็รด ปุ๋ยเราก็ใส่ แต่เรามิได้ฉีดยาฆ่าแมลง จึงคิดว่าสาเหตุอยู่นี่ แล้วก็ลองฉีดยาฆ่าแมลงอย่างเขา
5.  ปรากฏว่าปีต่อมามะม่วงออกผลดีเหมือนของเพื่อบ้าน แสดงว่าคำตอบชั่วคราวถูก
6.  ถือคำตอบนี้เป็นหลักปฏิบัติต่อไป
หากเราศึกษาพระพุทธประวัติจะพบว่า กระบวนการคิดของพระพุทธเจ้าตั้งแต่ออกผนวชจนกระทั่งตรัสรู้ ก็มีวิธีการเหมือนกัน คือ
(1)  ทรงเห็นว่าความทุกข์เป็นปัญหา จะต้องคำตอบเพื่อแก้ปัญหา
(2)  ทรงตั้งคำตอบชั่วคราว คือ ทรงเห็นว่าเจ้าลัทธิสำนักต่าง ๆ อาจให้คำตอบได้ และเมื่อให้ไม่ได้ก็ทรงเห็นว่าการทรมานกายอาจให้คำตอบได้
(3)  ทรงรวบรวมข้อมูล คือ เสด็จไปตามสำนักต่าง ๆ ที่เขาว่าเก่งลองทรมานกายดูลองอดอาหารเพื่อดูว่าจะได้คำตอบหรือไม่
(4)  ในกรณีของพระพุทธองค์การรวบรวมข้อมูลกับการวิเคราะห์ข้อมูลเกือบจะเป็นสิ่งเดียวกัน เช่น การบำเพ็ญเพียรทางกายนั้นเป็นทั้งทางการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล เพราะพระองค์ทรงใช้พระวรกายของพระองค์เองเก็บข้อมูล จึงเป็นการวิเคราะห์และทดสอบข้อมูลไปในตัว ส่วนคำสอนของสำนักต่าง ๆ ที่ทรงศึกษานั้นพระองค์คงนำมาวิเคราะห์แล้วเห็นว่ามิใช่คำตอบที่ถูกต้อง
(5)  เมื่อพระองค์ทรงเห็นว่าคำตอบชั่วคราวที่ตั้งไว้นั้นผิด จึงทรงเปลี่ยนแปลงวิธีการ โดยหันมาทดลองการบำเพ็ญเพียรทางจิตใจแทน ก็ปรากฏว่าทรงประสบความสำเร็จ ได้ตรัสรู้ความจริงอันเป็นคำตอบที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาเรื่องความทุกข์
(6)  ทรงนำคำตอบที่ได้ไปเผยแผ่แก่ชาวโลก เพื่อแก้ปัญหาเรื่องความทุกข์ให้แก่มวลมนุษย์
ตามนัยที่จะเห็นว่ากระบวนการคิดตามนัยพระพุทธศาสนาก็คล้ายคลึงกับกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ แต่พึงทราบว่า วิธีการคิดแบบนี้ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าคิดแบบเหตุผล หรือคิดแบบอริยสัจ ซึ่งเป็นเพียงวิธีหนึ่งใน 10 วิธี คือ
1.  วิธีคิดแบบสาวเหตุปัจจัย คือสืบค้นจากผล สืบสาวหาสาเหตุที่แท้จริง
2.  วิธีคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ คือแยกย่อยออกเป็นส่วน ๆ เพื่อหาความสอดคล้องสัมพันธ์
3.  วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา คือคิดและรู้ความเป็นไปตามธรรมดาของสรรพสิ่งตามความจริง
4.  วิธีคิดแบบอริยสัจ คือคิดตามเหตุผล สืบสาวสาเหตุแล้วแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
5.  วิธีคิดเชื่อมโยงหลักการและความมุ่งหมายให้สัมพันธ์กันคือคิดถึงหลักการของเรื่องหรือสิ่งนั้นคืออะไร ความมุ่งหมายเพื่ออะไร การกระทำนั้น ๆ ตรงตามหลักการ และความมุ่งหมายหรือไม่
6.  วิธีคิดแบบคุณ โทษ และทางออก คือคิดทั้งในแง่บวก แง่ลบ และคิดเสนอแนวทางแก้ไข
7.  วิธีคิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม คือ คิดวิเคราะห์ถึงประโยชน์ที่แท้จริงหรือประโยชน์เทียมของสิ่งนั้น ๆ คืออะไรเพื่อจะได้รู้จักเสพรู้จักใช้สิ่งทั้งหมายเพื่อคุณที่แท้จริง
8.  วิธีคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม คือคิดเพื่อให้เกิดกำลังใจสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามเพื่อตนและสังคม
9.  วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในปัจจุบัน คือคิดแบบมีสติ รู้เท่าทันปัจจุบัน ไม่ฟุ้งซ่าน
10.  วิธีคิดแบบจำแนกประเด็นและแง่มุมต่าง ๆ หรือพยายามมองหลายมุม เพื่อให้ได้คำตอบหรือความเข้าใจที่ถูกต้องสมบูรณ์
วิทย์  วิศทเวทย์ และ เสถียรพงษ์ วรรปก. หนังสือสังคมศึกษา รายวิชา ส 0411พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศศึกษาปีที่ 5 (ม.5) พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์ ,  2543.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น