วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

4. พระอุบาลี

4. พระอุบาลี
ประวัติ
  • พระอุบาลี เป็นบุตรของนายภูษามาลา (ช่างตัดผม) ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงบิลพัสดุ์ เมื่ออุบาลีเจริญวัยขึ้น ได้เป็นช่างกัลบก ประจำราชสำนักแห่งเจ้าศากยะ กรุงกบิลพัสดุ์ ในขณะนั้นพระราชกุมารแห่งศากวงศ์และโกลิยวงศ์ ได้ออกบาชด้วยกัน 6 องค์คือ ภัททิยะ อนุรุทธะ อานนท์ ภัคคุ และเทวทัต (ตามหลักฐานได้บันทึกไว้ว่า เทวทัตกุมารเป็นราชกุมารแห่งโกลิยวงศ์) ซึ่งได้ออกบวชในสำนักของพระพุทธเจ้าที่อนุปิยนิคม แคว้นมัลละ อุบาลีจึงได้ตามเสด็จไปออกบวชด้วย
  • เนื่องจากขัตติยกุมารทั้ง 6 องค์ ทรงมีพระประสงค์จะขจัด “ขัตติยมานะ” ความถือตัวว่าเป็นกษัตริย์ เลยทรงยินยามพร้อมกันให้อุบาลีบาชก่อน เพื่อให้อุบาลีมีอายุโสมากกว่าจะได้ทราบไหว้อย่างสนิทใจอุบาลีจึงได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าก่อน และมีพรรษามากกว่าพระราชกุมารองค์อื่น ๆ ด้วยประการฉะนี้
  • หลังจากบวชแล้วพระพุทธเจ้าทรงประทานกรรมฐานให้พระอุบาลีฝึกปฏิบัติ ไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ทรงอภิญญาและแตกฉานในปฏิสัมภิทา 4 (คือแตกฉานในอรรถแตกฉานในธรรม แตกฉานในนิรุกติ และแตกฉานในปฏิภาณ)
  • พระอุบาลีมีความสนใจในพระวินัยเป็นพิเศษ ได้ศึกษาพระวินัยจากพระพุทธองค์ จนมีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถในด้านการพิจารณาอภิกรณ์ (ตัดสินคดี) ดังกรณีภิกษุณีรูปหนึ่งตั้งครรภ์มาก่อนบวช ถูกพระเทวหัตตัดสินให้ลาสิกขาด้วยกล่าวหาว่าเธอไม่บริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าทรงมอบภาระให้พระอุบาลีตัดสิน พระอุบาลีได้ตัดสินอย่างสุขุมรอบคอบ ด้วยความร่วมมือจากอนาถบิณฑิกเศรษฐีและนางวิสาขาในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ของสตรี ผลปรากฏว่านางภิกษุณีรูปนั้นบริสุทธิ์ เพราะตั้งครรภ์มาก่อนเข้ามาบวช”
  • พระอุบาลี ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็น “เอตทัคคะ” (เลิศกว่าผู้อื่น) ในด้านการทรงจำพระวินัย หรือในด้านมีความเชี่ยวชาญในพระวินัย เพราะคุณสมบัตินี้เอง เมื่อพระมหากัสสปะดำริจะทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก หลังพุทธปรินิพพานได้ 3 เดือน  ท่านได้ทรงคัดเลือกพระอรหันค์ผู้ทรงอภิญญาและแตกฉานในปฏิสัมภิทาได้ 500 รูป พระอุบาลีเป็นองค์หนึ่งในจำนวนนั้น และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ทำหน้าที่วิสัชนาพระวินัยท่ามกลางที่ประชมคู่กับพระอานนท์ ซึ่งทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม โดยพระมหากัสสปะทำหน้าที่ซักถาม ซึ่งนับว่าพระอุบาลีได้ทำประโยชน์อันสำคัญยิ่งแก่พระพุทธศาสนา
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
  • 1.  เป็นผู้เชี่ยวชาญในพระวินัย คุณสมบัติข้อนี้ชัดเจน เพราะตำแหน่ง “เอตทัคคะ” นั้น คล้ายกับเป็นตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้าน ที่ได้รับการยอมรับจากพระพุทธองค์ เรื่องของพระวินัยเป็นเรื่องของกฎระเบียบแบบแผนแห่งความพระพฤติ เราสามารถประยุกต์คุณสมบัติข้อนี้ของท่านมาใช้ในชีวิตประจำวัน คือ จะต้องเรียนรู้กฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานหรือสถาบันที่ตนสังกัด เช่น ระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน แล้วปฏิบัติตนให้เคร่งครัดตามนั้น ไม่ล่วงละเมิด ตลอดจนรู้กฎหมายที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน และปฏิบัติตามกฎหมายในฐานะเป็นพลเมืองดีของประเทศ
  • 2.  เป็นครูที่ดี ครูในที่นี้นั้น ย่อมไม่หวงความรู้และมีเทคนิควิธีในการถ่ายทอดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ พระอุบาลีมีคุณสมบัติข้อนี้ครบถ้วน ท่านมีความชำนาญพิเศษในเรื่องพระวินัย ไม่หวงความรู้ไว้เฉพาะตน มีโอกาสเมื่อใดก็สั่งสอนภิกษุอื่น ๆ ให้รู้ตามเมื่อนั้น ดังหลักฐานในพระวินัยปิฏก มหาวิภังค์ (วิ. มหา. 2/685/452) ท่านได้เอาใจใส่ถ่ายทอดความรู้เรื่องพระวินัยแก่ภิกษุเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งกลายเป็น “สำนักทรงจำพระวินัย” ในสมัยต่อมา พระเถระที่เชี่ยวชาญพระวัยล้วนเป็นศิษย์หรือศิษย์ของศิษย์ของท่านพระอุบาลีทั้งสิ้น
  • 3.  ใฝ่ความรู้เสมอ คุณธรรมข้อนี้คือ “สิกขากามตา” คือ ความเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา หรือ “ความใฝ่รู้” พระอุบาลีมีคุณธรรมข้อนี้เด่นชัด ถึงแม้ท่านจะได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่ามีความรู้ในเรื่องพระวินัยกว่าภิกษุรูปอื่น ท่านก็ไม่พอใจเพียงแค่นั้น หากยังต้องขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเมื่อใด ก็กราบทูลถามพระพุทธเจ้าเสมอ ดังกราบถามปัญหาพระวินัยมากมายหลายเรื่องจากพระองค์ เป็นต้น (ดูพระวินัยปิฎกเล่มที่ 8 ข้อที่ 1161-1228 หน้า 443-508) คุณสมบัติข้อนี้ควรที่เราจะถือเอาเป็นแบบอย่างเป็นอย่างยิ่ง ถือถึงแม้จะมีความรู้ในเรื่องใดอยู่แล้ว ก็ไม่ควรทะนงตนว่ารู้ดีแล้ว ควรขวนขวายหาความรู้ด้วยการสอบถามจากผู้อื่น หรือค้นคว้าตำรับตำรามาอ่านเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มพูนความรู้เดิมให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น
บรรณานุกรม
วิทย์  วิศทเวทย์ และ เสถียรพงษ์ วรรปก. หนังสือสังคมศึกษา รายวิชา ส 0411 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศศึกษาปีที่ 5 (ม.5) พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์ ,  2541.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น