วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่ ๑๑ มารยาทชาวพุทธ ศาสนพิธีและวันสำคัญทางศาสนา

บทที่ ๑๑ มารยาทชาวพุทธ ศาสนพิธีและวันสำคัญทางศาสนา


๑. การปฏิสันถาร
  • การปฏิสันถารคือการต้อนรับแขกผู้มาเยือน ซึ่งทำได้หลายวิธีคือ ด้วยวาจาไพเราะ ให้ที่พักอาศัย และแสดงน้ำใจต่อกัน เพื่อให้ผู้มาเยือนพอใจ

๒. การแต่งกาย
  • ควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับวัย ไม่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียงของประเทศชาติบ้านเมือง เช่นนุ่งกางเกงในออกนอกบ้านเป็นต้น

๓. การรับประทานอาหาร
  • ควรมีระเบียบเรียบร้อย ประหยัด มีอนามัย อย่าทำให้เกิดความน่ารังเกียจแก่ผู้ร่วมรับประทานอาหารด้วย เช่นทำมูมมาม ทำหกเลอะเทอะ ทำเสียงดังซูดซ๊าด หรือกินอย่างตายอดตายอยากมาก่อน

๔. การไหว้(วันทา)
  • ๑. ไหว้พระรัตนตรัย คือยกมือประนมให้ปลายนิ้วจรดหน้าผาก ปลายหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ถ้าเป็นหญิงยืนไหว้ให้สืบเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหน้าเล็กน้อย พร้อมทั้งน้อมตัวไหว้(ถอนสายบัว) 
  • ๒. ไหว้บิดามารดา ครูอาจารย์ คือให้ยกมือประนม ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว ปลายหัวแม่มือจรดปลายจมูก ถ้าเป็นหญิงยืนไหว้ให้สืบเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหน้าเล็กน้อย พร้อมทั้งน้อมตัวไหว้ 
  • ๓. ไหว้ผู้ที่อาวุโส หรือผู้ที่เคารพทั่วๆไป คือยกมือประนมให้ปลายนิ้วชี้จรดปลายจมูก ปลายหัวแม่มือจรดปลายคาง 
  • ๔. ไหว้คนเสมอกัน คือยกมือประนมเสมออก จะค้อมศีรษะลงเล็กน้อยหรือไม่ก็ได้ ซึ่งการรับไหว้จากคนอื่นก็ทำอย่างนี้ 
๕. การกราบ(อภิวาท)
  • การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ คือชายนั่งคุกเข่า ส่วนหญิงนั่งทอดปลายเท้าแล้วนั่งทับเท้า การกราบชายให้เข่า ๒ มือ ๒ หน้าผาก ๑ จรดพื้น และแบมือให้ห่างกันเล็กน้อยพอหน้าผากจะลงได้ ให้ข้อศอกต่อเข่า ส่วนหญิงหมอบให้ขาชิดกัน ข้อศอกคร่อมเข่า ไม่ต้องต่อเข่าแบบชาย

๖. มารยาทในห้องเรียนหรือห้องบรรยาย
  • ๑. แต่งตัวเรียบร้อย 
  • ๒. ไม่คุย ไม่เล่น ไม่ดื่ม 
  • ๓. ตั้งใจฟัง ไม่หลับ 
  • ๔. ควรยกมือก่อนถาม 
  • ๕. รักษากติการะเบียบ

๗. มารยาทในที่ประชุม
  • ๑. แต่งกายสุภาพ 
  • ๒. อย่าพูดสอด 
  • ๓. รักษามารยาท 
  • ๔. ทำใจให้กว้าง 
  • ๕. ไม่พูดเรื่องส่วนตัว 
  • ๖. ขออนุญาตก่อนพูด 
  • ๗. ขออนุญาตก่อนถ้าจะเลิกก่อน

๘. มารยาทในการไปเยี่ยมผู้อื่น
  • ๑. ควรหาโอกาสไปเยี่ยม 
  • ๒. ก่อนเข้าบ้านหรือห้องควรให้สัญญาณ 
  • ๓. ควรทำความเคารพเจ้าของบ้านก่อน 
  • ๔. ไม่ควรอยู่นานเกิน 
  • ๕. ไม่ควรนำคนที่ไม่รู้จักไปด้วย 
  • ๖. เมื่อจะกลับให้บอกลา

๙. มารยาทในการต้อนรับ
  • ๑. เมื่อแขกมาเยือน เจ้าของบ้านควรต้อนรับด้วยอาการยิ้มแย้ม 
  • ๒. เชิญแขกนั่ง หาน้ำต้อนรับ 
  • ๓. ไม่ควรถามแขกว่ามีธุระอะไร 
  • ๔. อย่าทำอะไรที่ดูเหมือนไล่แขกทางอ้อม 
  • ๕. เมื่อแขกลากลับควรเดินไปส่ง

๑๐. มารยาทในการไปงานมงคล
  • ๑. แต่งกายเหมาะสมตามงาน 
  • ๒. ควรไปถึงก่อนเวลา 
  • ๓. ไม่ควรสนทนาเรื่องไม่เหมาะสม 
  • ๔. ควรให้เกียรติเจ้าภาพ 
  • ๕. เมื่อจะกลับควรลาเจ้าภาพก่อน

๑๑. มารยาทในการไปงานศพ
  • ๑. แต่งตัวตามประเพณี คือชุดดำ หรือชุดพระราชทาน หรือเครื่องแบบข้าราชการ นักเรียน 
  • ๒. ไม่ควรพูดคุยสนุกสนาน 
  • ๓. ไม่ควรรดน้ำศพผู้อาวุโสน้อยกว่า 
  • ๔. เมื่อแขกผู้มีเกียรติจุดไฟ เราควรยืนพร้อมกันด้วยความสงบ

๑๒. มารยาทในการสนทนา
  • ๑. ใช้วาจาและกิริยาที่สุภาพ 
  • ๒. ให้โอกาสคนอื่นพูดบ้าง 
  • ๓. อย่าเล่าเรื่องตนเองมากเกินไป 
  • ๔. อย่าอวดตน อย่านินทาผู้อื่น 
  • ๕. อย่าบ่นถึงเคราะห์กรรมของตนเองมากเกินควร 
  • ๖. อย่าเอาความลับคนอื่นมาเปิดเผย 
  • ๗. อย่าขัดคอคนอื่น
  • ๘. อย่าหยอกล้อกันจนเกินควร

๑๓. มารยาททั่วไปในที่สาธารณะ
  • ๑. อย่าเดินเบียดคนอื่น 
  • ๒. ควรกล่าวขอโทษถ้าบังเอิญไปล่วงเกินผู้อื่น 
  • ๓. ควรกล่าวขอบคุณเมื่อผู้อื่นทำอะไรให้ 
  • ๔. อย่าสูบบุหรี่และส่งเสียงดัง 
  • ๕. เคารพกฎของสถานที่ที่กำหนดไว้ 
  • ๖. ช่วยกันรักษาความสะอาด 
  • ๗. ไม่แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม


ศาสนพิธี 
พิธีกรรมของพุทธศาสนาที่พบเห็นได้บ่อยก็ได้แก่ 
  • ๑. พิธีอุปสมบท ซึ่งเป็นการ บวชเป็นพระภิกษุและถือศีล ๒๒๗ ข้อ
  • ๒. พิธีพรรพชา ซึ่งเป็นการบวชเป็นสามเณรและถือศีล ๑๐ ข้อ 

ส่วนประเพณีของชาวพุทธที่พบเห็นได้บ่อยก็ได้แก่ 
  • ๑. การทอดกฐิน คือการเอาผ้าไตรจีวร(ผ้านุ่งผ้าห่มเป็นชุด)ไปถวายพระสงฆ์ช่วงหลังจากออกพรรษาแล้วประมาณ ๑ เดือน 
  • ๒. ทอดผ้าป่า คือการเอาผ้าเป็นผืนไปถวายพระสงฆ์ จะถวายเมื่อไรก็ได้ 
  • ๓. การทำบุญในวันสำคัญทางพุทธศาสนาต่างๆ เป็นต้น.

วันสำคัญทางศาสนา 
วันสำคัญทางพุทธศาสนาก็ได้แก่ 
  • ๑. วันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ,ตรัสรู้,ปรินิพพาน 
  • ๒. วันอาสาฬหบูชา ซึ่งเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรก 
  • ๓. วันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันที่พระอริยสงฆ์จำนวนมากมาประชุมพร้อมกัน 
  • ๔. วันเข้าพรรษา ซึ่งเป็นวันที่พระสงฆ์จะอยู่ประจำที่เป็นเวลา ๓ เดือน 
  • ๕. วันออกพรรษา ซึ่งเป็นวันที่พระสงฆ์ครบกำหนดจำพรรษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น