วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

2. พระปฏาจาราเถรี


2. พระปฏาจาราเถรี
ประวัติพระปฏาจาราเถรี
  • ปฏาจารา เป็นธิดาของเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล บิดามารดาเป็นคนมั่งคั่งร่ำรวยนางจึงได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี นางเป็นหญิงรูปร่างงดงามแต่นางหลงรักชายคนใช้ของนางเอง 
  • เมื่อบิดมารดาจะหาชายหนุ่มในชนชั้นเดียวกันมาแต่งงานด้วย นางจึงนัดแนะให้คนใช้พาหนีแล้วไปสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยในชนบทอันทุรกันดารแห่งหนึ่ง 
  • เริ่มแรกชีวิตในชนบทปฏจารามีความสุขมากเพราะได้อยู่ใกล้ชิดกับชายคนรัก เวลาผ่านไปไม่นานนางก็ตั้งครรภ์ ในเวลาใกล้คลอดนางมีความกังกลใจ เพราะไม่มีบิดามารดาและญาติอยู่ใกล้ นางจึงขอร้องให้สามีพากลับไปหาบิดามารดา 
  • เมื่อสามีปฏิเสธคำขอร้องเพราะกลัวเกรงบิดามารดาของนางจะเอาโทษ นางจึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านเพียงลำพัง นางคลอดบุตรคนแรกในระหว่างทาง 
  • เมื่อสามีตามไปพบเขาได้ชี้แจงเหตุผลต่าง ๆ จนพานางกลับบ้านสำเร็จ ในเวลาต่อมาปฏจาราตั้งครรภ์อีกเป็นครั้งที่สอง และข้อร้องสามีเหมือนครั้งก่อน 
  • เมื่อสามีปฏิเสธคำขอร้องเหมือนครั้งที่แล้ว นางจึงพาบุตรน้อยผู้กำลังหัดเดินหนีออกจากบ้าน ในระหว่างทางนางปวดท้องอย่างรุนแรง เพราะกำลังจะคลอดบุตร ฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก 
  • สามีตามไปพบนางดิ้นทุรนทุรายอยู่ท่ามกลางสายฝน จึงได้ตัดไม้เพื่อจะมาทำกำบังฝนชั่วคราว แต่เขาถูกงูพิษร้ายกัดถึงแก่ความตาย 
  • ปฏาจาราคลอดบุตรด้วยความยากลำบาก แล้วนางอุ้มทารกและจูงบุตรน้อยตามไปพบศพสามีจึงมีความเศร้าโศกเสียในมาก นางตัดสินใจจะพาบุตรไปหาบิดามารดาในเมือง 
  • เมื่อมาถึงลำธารใหญ่ที่น้ำกำลังไหลเชี่ยว นางไม่อาจจะพาบุตรข้ามน้ำพร้อมกันได้ จึงให้บุตรคนโตยืนรอที่ฝั่งข้างหนึ่ง แล้วนางก็อุ้มทารกแรกเกิดเดินข้ามน้ำไปอีกฝั่งหนึ่ง 
  • ในขณะที่นางมาถึงกลางน้ำ นางเห็นเหยี่ยวตัวหนึ่งกำลังบินโฉบลงเพื่อจิกทารก เพราะมันเข้าใจว่าเป็นก้อนเนื้อ นางจึงยกมือขึ้นไล่เหยี่ยวแต่ก็ไม่อาจช่วยชีวิตทารกน้อยได้ เพราะเหยี่ยวมองไม่เห็นอาการที่ขับไล่จึงเฉี่ยวลูกน้อยไป  
  • บุตรคนโตมองเห็นนางยกมือขึ้นทั้งสองข้าง เข้าใจว่ามารดาเรียกตนจึงก้าวลงสู่แม่น้ำอันเชี่ยวและถูกน้ำพัดพาหายไป ปฏจาราสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างในเวลาใกล้กัน 
  • แต่นางยังตั้งสติได้ นางเดินร้องไห้เข้าสู่เมืองสาวัตถี และได้ทราบข่าวจากชาวเมืองคนหนึ่งในระหว่างทางว่าลมฝนได้พัดเรือนบิดามารดาของนางพังทลายและเจ้าของเรือนตายไปด้วย 
  • เมื่อนางทราบข่าวนี้นางไม่อาจตั้งสติได้ นางสลัดผ้านุ่งทิ้งแล้ววิ่งบ่นเพ้อด้วยร่างกายอันเปลือยเปล่าเข้าไปในพระวิหารเชตวัน ในขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงธรรมอยู่ทางกลางบริษัท 
  • ประชาชนเห็นนางแล้วร้องบอกกันว่า คนบ้า ๆ อย่าให้เข้ามา พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปล่อยให้นางเข้ามาเถิด แล้วตรัสให้นางได้สติ นางกลับได้สติดังเดิม 
  • ใครคนหนึ่งในที่ประชุมนั้นโยนผ้าให้นางนุ่งห่ม นางนั่งฟังพระธรรมเทศนาอันแสดงถึงความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งพิจารณาไปตามพระธรรมเทศนานั้นแล้วได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ทูลขอบวชพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้นางบวชในสำนักของภิกษุณี 
  • หลังจากบวชแล้วไม่นาน นางได้เพียงบำเพ็ญสมณธรรมด้วยความตั้งใจจริง และได้บรรลุอรหัตผลในที่สุด
  • พระปฏจาราเถรีมีความสนใจในพระวินัยเป็นพิเศษ ตั้งใจศึกษาพระวินัยจนมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งเอตทัคคะ (เป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่น) ในทางเป็นผู้ทรงพระวินัยเป็นกำลังในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ดำรงอยู่ในภาวะภิกษุณีจนพอสมควรแก่อายุขัยแล้วก็นิพพาน
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
  • 1.  เป็นผู้มีความตั้งใจจริง นิสัยตั้งใจจริงต้องทำตามที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จนี้มีมาตั้งแต่พระปฏจาราเถรียังเป็นเด็กสาว แต่เนื่องจากยังขาดประสบการณ์และขาดวิจารณญาณจึงทำให้ผิดพลาดในชีวิต ดังเช่น ตั้งใจจะแต่งงานกับชายคนรักที่ตนรัก ไม่ต้องการแต่งกับคนที่บิดามารดาเลือกให้ก็ต้องทำให้ได้ ดังรายละเอียดข้างต้น แต่ต่อมาเมื่อได้บวชเป็นภิกษุณีแล้วนางได้สานต่อความตั้งใจจริงนั้นในทางที่ถูกต้อง คือ มีความตั้งใจจะศึกษาพระวินัยปิฎกให้เชี่ยวชาญ ก็ไม่ลดละความพยายาม นางได้ใช้วิริยุอุสาหะเป็นอย่างมากศึกษาจนกระทุ่งสำเร็จตามปรารถนา ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีรูปอื่นในด้านนี้
  • 2.  เป็นผู้แนะแนวชีวิตที่ดียิ่ง ชีวิตของพระปฏจาราเถรีเป็นชีวิตที่มากด้วยประกบการณ์ ได้ผ่านมาทั้งความสุข ความสมหวัง และความทุกข์ ความผิดหวังอย่างสาหัส จนเกือบกลายเป็นคนบ้าเสียสติ แต่เมื่อนางได้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตแห่งชีวิตเข้ามาสู่ร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนาแล้ว ประสบการณ์เหล่านั้นกลับเป็นประโยชน์แก่นางและคนอื่น คือ สตรีอื่น ๆ ที่มีปัญหาชีวิตพากันมาขอคำแนะนำ นางได้ให้คำแนะนำที่ดีและช่วยแก้ปัญหาให้พวกเขาเหล่านั้น จนกระทั้งได้รับยกย่องว่า “เป็นครูผู้ยิ่งใหญ่” ของพวกเขา
บรรณานุกรม
วิทย์  วิศทเวทย์ และ เสถียรพงษ์ วรรปก. หนังสือสังคมศึกษา รายวิชา ส 0410 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม.5)พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น