วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

3-พระอานนท์



พระอานนท์
  • ท่านเกิดในวรรณะกษัตริย์ ตระกูลศากยะเป็นโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ มีพระสหายสนิท คือ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ รวมทั้งเจ้าชายเทวทัตแห่งเมืองเทวทหะด้วย แต่ท่านมีพิเศษกว่าเจ้าชายพระองค์อื่นๆ ตรงที่เกิดวันเดียวกันกับพระพุทธเจ้า ดังนั้น จึงจัดเป็นสหชาติ (ผู้เกิดพร้อมกัน) ของพระพุทธเจ้า
  • ท่านออกบวชคราวเดียวกันกับเจ้าชายศากยะอื่นๆ ครั้นบวชแล้วไม่นาน ท่านได้บรรลุพระโสดาปัตติผล แต่มาบรรลุพระอรหันต์ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน รวมเวลาที่ท่านเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันอยู่นานถึง 42 ปี และได้บรรลุพระอรหันต์เมื่ออายุได้ 80 ปี
  • สาเหตุที่ท่านบรรลุธรรมช้ากว่าพระรูปอื่นๆ เนื่องจากท่านไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม ต้องขวนขวายอยู่กับการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ท่านได้บรรลุธรรมก่อนมีการทำสังคายนาครั้งที่ 1 เพียงไม่กี่ชั่วโมง ท่านเป็นพระสาวกเพียงรูปเดียวที่บรรลุพระอรหันต์โดยไม่อยู่ในอริยบถ 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน นั่นคือ ท่านบรรลุพระอรหันต์ภายหลังจากที่ได้ปฏิบัติธรรมทั้งคืนขณะที่จะเอนกายลงนอนบนเตียง พอยกเท้าพ้นจากพื้นแต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย คลายความยึดมั่นลงได้
  • หลังบรรลุพระอรหันต์ไม่นานก็รุ่งเช้า เมื่อฉันภัตตาหารเช้าแล้ว ขณะที่พระสงฆ์จำนวน 499 รูป เข้าไปนั่งคอยท่านอยู่ในมณฑลที่ถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภาระ เมืองราชคฤห์ ท่านก็ได้แสดงฤทธิ์เพื่อประกาศให้คณะสงฆ์ได้ทราบว่าท่านได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว ด้วยการดำดินไปโผล่ขึ้นตรงอาสนะที่จัดเตรียมไว้ให้ท่านนั่งนั่นเอง
  • พระอานนท์มีบทบาทอย่างมากในการประกาศพระพุทธศาสนาและรักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ ผลงานของท่านสามารถประมวลกล่าวได้ดังนี้
    • 1.เป็นผู้ทรงจำธรรมไว้ได้มาก ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นพหูสูต เพราะท่านทูลขอพรจากพระพุทธเจ้าก่อนเข้ารับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐากมีข้อหนึ่งความว่า “ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องใดในที่ลับหลังข้าพระองค์ ขอให้พระองค์ได้โปรดแสดงธรรมเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์อีกครั้งหนึ่ง” ท่านให้เหตุผลว่า เพื่อป้องกันการครหา เพราะถ้ามีผู้ถามว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ที่ไหน และทรงปรารภเหตุอะไร ถ้าท่านตอบไม่ได้ ก็จะมีเสียงครหาว่าอุตส่าห์เสียเวลาติดตามพระพุทธเจ้าอยู่เหมือนเงาตามตัว แต่กับเรื่องแค่นี้ก็ไม่รู้แล้วอย่างนี้จะติดตามไปทำไป
    • 2.เป็นผู้ขวนขวายเพื่อสิทธิสตรี ในช่วงพรรษาแรกยังไม่มีสตรีมาบวชเป็นภิกษุณี เมื่อเวลาผ่านไปหลังตรัสรู้ได้ 5 พรรษา พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางได้พาเจ้าหญิงศากยะจำนวน 500 มาทูลขอบวช ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี แคว้าวัชชี มีพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐาก ครั้งนั้นพระอานนท์ได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการช่วยเหลือให้สตรีเหล่านั้นมีโอกาสได้บวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา
    • 3.เป็นผู้ช่วยระงับความแตกร้าวในพุทธจักร คราวที่พระชาวเมืองโกสัมพีเกิดทะเลาะวิวาทกันเป็นฝ่าย พระพุทธเจ้าทรงตักเตือนก็ไม่สามารถคลายทิฏฐิมานะพระเหล่านั้นลงได้ พระองค์จึงเสด็จไปจำพรรษาในป่าปาลิเลยยกะ ต่อมาพระเหล่านั้นเกิดสำนึกผิดรู้สึกละอายใจ จึงเข้าไปหาพระอานนท์ พร้อมขอร้องให้ท่านพาไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลขอขมา พระอานนท์ได้ทำตามจนสามารถระงับความแตกร้าวให้กลับคืนสู่สภาวะปกติได้
    • 4.เป็นผู้วิสัชนาพระธรรมในคราวปฐมสังคายนา ท่านได้ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม โดยรวบรวมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มาจัดเป็นหมวดหมู่ จนปรากฏเป็น พระสุตตันตปิฎก” และ “พระอภิธรรมปิฎก” ให้เราได้ศึกษามาจนทุกวันนี้
    • 5.เป็นผู้สร้างผู้สืบต่อ ท่านมีลูกศิษย์จำนวนมาก ต่อมาศิษย์ของท่านมีบทบาทสำคัญในการทำสังคายนาครั้งที่ 2 คือ พระสัพพกามี พระยสกากัณฑบุตร พระเรวตะ เป็นต้น
    • 6.การเดินทางออกเยี่ยมพระสงฆ์ในวัดต่างๆ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พุทธบริษัทก็ถือพระอานนท์ว่าเป็นเสมือนตัวแทนพระพุทธเจ้า หลังทำปฐมสังคายนาแล้ว ท่านจึงออกจารึกไปตามวัดต่างๆ เพื่อเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ ปลูกสร้างความสามัคคีไว้เพื่อความไพบูลย์ของพระพุทธศาสนา
  • การที่พระพุทธศาสนามั่งคงและรุ่งเรืองสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ถือได้ว่าพระอานนท์ได้มีบทบาทสำคัญมากรูปหนึ่ง พระอานนท์ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ 5 ด้าน คือ มีสติ ๑ มีคติ ๑ มีความเพียร ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็นพุทธอุปัฏฐาก ๑
  • ท่านนิพพานเมื่ออายุได้ 120 ปี หลังพุทธปรินิพพาน 40 ปี นิพพานกลางอากาศระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ โดยเข้าเตโชสมาบัติอธิษฐานจิตให้เกิดไฟลุกไหม้ร่างกาย แล้วแบ่งกระดูกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งไปตกที่เมืองกบิลพัสดุ์ อีกส่วนหนึ่งไปตกที่เมืองเทวทหะ ทั้งนี้เพื่อมิให้ญาติต้องทะเลาะกันเพราะแย่งกระดูก
พระอานนท์ขอประทานพร 8 ประการ
  • ดังนั้น ท่านพระอานนท์จึงได้กราบทูลขอพร 8 ประการ หากพระองค์ทรงประทานพร 8 ประการนี้ ท่านจึงจะรับตำแหน่งพุทธุปัฏฐากท่านกราบทูลขอพร ว่า
    1. ถ้าจักไม่ประทานจีวรอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์
    2. ถ้าจักไม่ประทานบิณฑบาตอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์
    3. ถ้าจักไม่โปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
    4. ถ้าจักไม่ทรงพาข้าพระองค์ไปในที่ที่ทรงรับนิมนต์ไว้
    5. ถ้าพระองค์จักไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้
    6. ถ้าข้าพระองค์จะพาบริษัทซึ่งมาแต่ที่ไกลเพื่อเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาแล้ว
    7. ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น
    8. ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอันใดในที่ลับหลังข้าพระองค์จักเสด็จมาตรัสบอกพระธรรมเทศนานั้นแก่ข้าพระองค์อีก
    9. เมื่อข้าพระองค์ได้รับพร 8 ประการนี้ แหละจึงจักเป็นพุทธุปัฏฐากของพระองค์

พระอานนท์ผู้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุรูปอื่น

  • พระอานนท์ได้รับการสรรเสริญจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะ (เลิศ) 5 ประการคือ
      1. มีสติ รอบคอบ
      2. มีคติ คือความทรงจำแม่นยำ
      3. มีความเพียรดี
      4. เป็นพหูสูต
      5. เป็นยอดของภิกษุผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
  • ภิกษุอื่น ๆ ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะก็ได้รับเพียงอย่างเดียว แต่พระอานนท์ท่านได้รับถึง 5 ประการ นับว่าหาได้ยากมาก ความเป็นพหูสูตรของพระอานนท์นั้นนับว่าเป็นคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา กล่าวคือภายหลังพุทธปรินิพพานแล้ว มีภิกษุบางพวกกล่าวติเตียนพระศาสนา ทำให้พระมหากัสสปเถระเกิดความสังเวชในใจว่า ในอนาคตพวกอลัชชีจะพากันกำเริบ ย่ำเหยียบพระศาสนา จำต้องกระทำการสังคายนาพระไตรปิฎกให้เป็นหมวดหมู่ จึงได้นัดแนะพระภิกษุสงฆ์ให้ไปประชุมกันที่กรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัยตลอดเข้าพรรษาการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งนั้นได้มีพระมหาเถระ 3 รูปที่มีส่วนสำคัญในการสังคายนา กล่าวคือ พระอานนท์เถระ ผู้เป็นพุทธอุปฐาก ซึ่งได้รับประทานพรข้อที่ 8 ทำให้ท่านเป็นผู้ทรงจำพระพุทธวจนะไว้ได้มาก ท่านจึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม ดังบทสวดคาถาต่าง ๆ มักขึ้นต้นด้วย “เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา…..” อันหมายถึง “ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
หานคร : อักษรเจริญทัศน์ ,  2541.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น