วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

4. พุทธสาวก

4. พุทธสาวก

1. พระเจ้าพิมพิสาร
พระราชประวัติ
พระเจ้าพิมพิสาร เป็นพระราชาแห่งแคว้นมคธ ซึ่งเป็นแคว้นที่ใหญ่และมีอำนาจที่สุดแคว้นหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีเมืองหลวงชื่อ ราชคฤห์ พระองค์ได้ครองราชย์สมบัติอยู่เป็นเวลา 52 ปี
พระเจ้าพิมพิสารมีอัครมเหสีพระนามว่า เวเทหิ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามหาโกศล แห่งแคว้นโกศล มีพระราชโอรสซึ่งประสูติจากพระนางเวเทหิ 1 พระองค์ มีนามว่า อชาตศัตรู
พระเจ้าพิมพิสาร ทรงมีความสัมพันธ์กับพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่ต้น กล่าวกันว่าพระองค์เป็นพระสหายกับพระพุทธเจ้าสมัยที่ยังทรงเป็นพระกุมาร ด้วยพระเจ้าสุทโธทนะทรงมีความสนิทสนมกับพระบิดาของพระเจ้าพิมพิสาร
ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าพิมพิสารกับพระพุทธเจ้า
เพื่อความสะดวกในการกำหนด อาจแบ่งระยะของความสัมพันธ์ออกเป็น 2 ตอน คือ
1.  ความสัมพันธ์ก่อนกาลตรัสรู้ พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงพระพุทธเจ้าครั้งแรกในสมัยที่พระมหาบุรุษเสด็จออกบรรพชา เสด็จมาพักที่เชิงเขาปัณธวะ แคว้นมคธ ในสมัยนั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นมหาอุปราชยังมิได้ราชาภิเษก พระองค์ทรงพอพระทัยบุคลิกลักษณะของพระมหาบุรุษมาก จึงทูลเชิญให้ครองราชย์สมบัติครึ่งหนึ่งแคว้นมคธ แต่พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธและตรัสบอกถึงความตั้งพระทัยของพระองค์ที่จะออกผนวชเพื่อแสวงหาอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระเจ้าพิมพิสารทรงแสดงความยินดีด้วย และทูลขอต่อพระมหาบุรุษว่า เมื่อได้ตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จกลับมาโปรดพระองค์ด้วย
2.  ความสัมพันธ์หลังกาลตรัสรู้ พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสร้างวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาและกรุงราชคฤห์เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรก กล่าวคือ เมือพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ทรงเริ่มประกาศพระศาสนาและได้สาวกมากพอสมควรแล้ว เช่น ชฏิล 3 พี่น้องพร้อมทั้งบริวาร เป็นต้น พระองค์ได้เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์พร้อมด้วยภิกษุชฏิลเหล่านั้น เพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับข่าวการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า จึงพร้อมด้วยข้าราชการและประชาชนเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสารพร้อมทั้งข้าราชการและประชาชนจำนวนมากได้บรรลุโสดาปัตติผล ประกาศของพระองค์เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา และได้ถวายพระราชอุทยานเวฬุวันให้เป็นวัดที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ ดังนั้นวัดเวฬุวันจึงเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
นอกจานี้ พระเจ้าพิมพิสารยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาด้วยประการต่าง ๆ เป็นอันมาก เช่น ได้พระราชทานหมอชีวกโกมาภัจจ์ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำราชสำนักให้เป็นหมอประจำองค์พระพุทธเจ้และภิกษุสงฆ์ เป็นต้น
พระเจ้าพิมพิสารมีพระราชโอรสผู้หลงผิดพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าอชาตศัตรูซึ่งประสูติจากพระนางเวเทหิ และเป็นรัชทายาท ก่อนประสูติ ขณะทรงพระครรภ์ นางเวเทหิทรงมีอาการแพ้พระครรภ์ทรงกระหายอยากเสวยพระโลหิตจากพระพาหาข้างขวาของพระสวามี พระเจ้าพิมพิสารจึงกรีดเอาพระโลหิตของพระองค์ให้พระนางเวเทหิเสวย โหราจารย์ได้ทำนายว่า พระโอรสของพระองค์จะปิตุฆาต คือ ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสาร
พระเจ้าพิมพิสารทรงรักใคร่พระราชโอรสมาก แม้จะได้ทรงสดับคำทำนายที่ร้ายแรงเช่นนั้น และแม้พระเวเทหิจะได้ทรงพยายามทำลายพระครรภ์เพื่อป้องกันภัยแก่พระองค์ แต่เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรบทราบ ก็ทรงห้ามเสียและโปรดให้ดูแลรักษาพระครรภ์เป็นอย่างดี เมื่อพระราชโอรสประสูติแล้ว ได้ทรงขนานพระนามว่า อชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) เมื่ออชาตศัตรูเจริญวัยขึ้น ได้เลื่อมใสในพระเทวทัตจึงถูกพระเทวทัตชักชวนให้ทำปิตุฆาต โดยพระเจ้าอชาตศัตรูมีพระบัญชาให้ขังพระราชบิดาของพระองค์ ห้ามมิให้คนอื่นเข้าพบนอกจากพระนางเวเทหิและต่อมาทรงห้ามเด็ดขาด แม้แต่พระเวเทหิเองก็มิได้ทรบเข้าพบ ทั้งนี้เพื่อปิดกั้นหนทางมิให้พระนางเวเทหิมีโอกาสซุกซ่อนอาหารเข้าไปถวายพระสวามี และจะได้เร่งให้พระเจ้าพิมพิสารสวรรคตไปตามแผนการ แต่พระเจ้าพิมพิสารเป็นอริยบุคคล สามารถเสวยสุขมีความอิ่มพระทัยได้ด้วยการเสด็จจงกรม จึงทรงพระชนม์อยู่ได้ต่อไปได้อีก ในขั้นสุดท้ายพระเจ้าอชาตศัตรูจึงให้กรีดพระบาทของพระเจ้าพิมพิสารเสียทั้งสองข้าง เพื่อไม่ให้เสด็จจงกรมได้ต่อไป เป็นเหตุให้พระองค์สวรรคต
ในขณะเดียวกับที่พระเจ้าพิมพิสารสวรรคตนั่นเอง พระโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรูก็ประสูติ พระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีความรักใคร่เสน่หาในพระโอรสมาก จึบทรงสำนึกขึ้นได้ว่าพระเจ้าพิมพิสารคงจะทรงรักใครพระองค์เช่นนั้นเหมือนกัน ครั้นสำนึกได้ก็ตรัสรับสั่งให้ปล่อยพระราชบิดา แต่ปรากฏว่าพระราชบิดาได้สวรรคตเสียก่อนแล้ว ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูเสียพระทัยเป็นอันมาก และได้จัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระราชบิดาอย่างสมพระเกียรติ
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1.  ทรงมีน้ำพระทัยกว้างขวางเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม ดังจะเห็นได้ในกรณีที่ทรงเชิญให้พระมหาบุรุษรับราชสมบัติในแคว้นมคธ โดยมิได้ทรงหวงแหนหรือตระหนี่ และทรงยินดีมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรส ในเมื่อพระราชโอรสปรารถนาโดยมิให้ต้องมีเหตุร้ายเนื่องจากการแย่งราชสมบัติ
2.  ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยพระราชศรัทธาอย่างแท้จริง ทรงถวายวัดแห่งแรก ทรงนำข้าราชการและประชาชนเข้าถึงพระรัตนตรัย ทรงช่วยให้กรงราชคฤห์ที่พระองค์ทรงปกครอง ได้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรก กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง เพราะอาศัยพระบรมราชูปภัมภ์ของพระองค์เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง
3.  ทรงเอาพระทัยใส่ในความเสื่อมความเจริญของพระศาสนา ทรงทำหน้าที่ของอุบาสกที่ดี หาทางส่งเสริมสนับสนุนพระพุทธศาสนาให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ เช่นครั้งหนึ่งพระองค์ทรงพระราชดำริถึงการที่พวกปริพาชกอัญญาเดียรถีย์ ได้ประชุมกันแสดงธรรมให้วัน 14 ค่ำ 8 ค่ำ แห่งปักษ์ มีประชาชนสนใจและเลื่อมใสไปฟังธรรมมาก ทรงเห็นว่าเป็นวิธีการที่ดีอย่างหนึ่ง ทรงมีพระประสงค์จะให้มีการปฏิบัติอย่างนั้นบ้างในพระพุทธศาสนา จึงทรงนำความขึ้นกราบทูลให้ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ประชุมกันในวันเช่นนั้นบ้าง เป็นเหตุให้เกิด “วันธรรมสวนะ” แต่บัดนั้นมาก
4.  ทรงเคารพในพระสงฆ์มาก จะเห็นได้จากครั้งหนึ่งพระองค์มีพระราชประสงค์จะทรงสรงสนานน้ำร้อนในบ่อน้ำร้อน “ตโปทา” ขณะเสด็จไปถึง ทอดพระเนตรเห็นพระภิกษุกำลังสรงน้ำอยู่มากมาย ทรงให้พระภิกษุสรงน้ำเสร็จก่อนพระองค์จึงทรงลงสรง บังเอิญค่ำมืดประตูนครปิดพอดี ไม่สามารถเสด็จเข้าเมืองได้ จึงเสด็จไปประทับค้างคืนที่พระเวฬุวัน พระพุทธเจ้าทรงปรารภเหตุนี้ จึงทรงบัญญัติให้พระสาวกสรงน้ำในบ่อน้ำร้อนตโปทา 15 วันต่อครั้ง
วิทย์  วิศทเวทย์ และ เสถียรพงษ์ วรรปก. หนังสือสังคมศึกษา รายวิชา ส 048 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศศึกษาปีที่ 4 (ม.4) พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์ ,  2541.
2. พระปฏาจาราเถรี
ประวัติพระปฏาจาราเถรี
ปฏาจารา เป็นธิดาของเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถี แคว้นโกศล บิดามารดาเป็นคนมั่งคั่งร่ำรวยนางจึงได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี นางเป็นหญิงรูปร่างงดงามแต่นางหลงรักชายคนใช้ของนางเอง เมื่อบิดมารดาจะหาชายหนุ่มในชนชั้นเดียวกันมาแต่งงานด้วย นางจึงนัดแนะให้คนใช้พาหนีแล้วไปสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยในชนบทอันทุรกันดารแห่งหนึ่ง เริ่มแรกชีวิตในชนบทปฏจารามีความสุขมากเพราะได้อยู่ใกล้ชิดกับชายคนรัก เวลาผ่านไปไม่นานนางก็ตั้งครรภ์ ในเวลาใกล้คลอดนางมีความกังกลใจเพราะไม่มีบิดามารดาและญาติอยู่ใกล้ นางจึงขอร้องให้สามีพากลับไปหาบิดามารดา เมื่อสามีปฏิเสธคำขอร้องเพราะกลัวเกรงบิดามารดาของนางจะเอาโทษ นางจึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านเพียงลำพัง นางคลอดบุตรคนแรกในระหว่างทาง เมื่อสามีตามไปพบเขาได้ชี้แจงเหตุผลต่าง ๆ จนพานางกลับบ้านสำเร็จ ในเวลาต่อมาปฏจาราตั้งครรภ์อีกเป็นครั้งที่สองและข้อร้องสามีเหมือนครั้งก่อน เมื่อสามีปฏิเสธคำขอร้องเหมือนครั้งที่แล้ว นางจึงพาบุตรน้อยผู้กำลังหัดเดินหนีออกจากบ้าน ในระหว่างทางนางปวดท้องอย่างรุนแรงเพราะกำลังจะคลอดบุตร ฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก สามีตามไปพบนางดิ้นทุรนทุรายอยู่ท่ามกลางสายฝนจึงได้ตัดไม้เพื่อจะมาทำกำบังฝนชั่วคราว แต่เขาถูกงูพิษร้ายกัดถึงแก่ความตาย ปฏาจาราคลอดบุตรด้วยความยากลำบาก แล้วนางอุ้มทารกและจูงบุตรน้อยตามไปพบศพสามีจึงมีความเศร้าโศกเสียในมาก นางตัดสินใจจะพาบุตรไปหาบิดามารดาในเมือง เมื่อมาถึงลำธารใหญ่ที่น้ำกำลังไหลเชี่ยวนางไม่อาจจะพาบุตรข้ามน้ำพร้อมกันได้ จึงให้บุตรคนโตยืนรอที่ฝั่งข้างหนึ่ง แล้วนางก็อุ้มทารกแรกเกิดเดินข้ามน้ำไปอีกฝั่งหนึ่ง ในขณะที่นางมาถึงกลางน้ำนางเห็นเหยี่ยวตัวหนึ่งกำลังบินโฉบลงเพื่อจิกทารก เพราะมันเข้าใจว่าเป็นก้อนเนื้อ นางจึงยกมือขึ้นไล่เหยี่ยวแต่ก็ไม่อาจช่วยชีวิตทารกน้อยได้ เพราะเหยี่ยวมองไม่เห็นอาการที่ขับไล่จึงเฉี่ยวลูกน้อยไป  บุตรคนโตมองเห็นนางยกมือขึ้นทั้งสองข้างเข้าใจว่ามารดาเรียกตนจึงก้าวลงสู่แม่น้ำอันเชี่ยวและถูกน้ำพัดพาหายไป ปฏจาราสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างในเวลาใกล้กันแต่นางยังตั้งสติได้ นางเดินร้องไห้เข้าสู่เมืองสาวัตถี และได้ทราบข่าวจากชาวเมืองคนหนึ่งในระหว่างทางว่าลมฝนได้พัดเรือนบิดามารดาของนางพังทลายและเจ้าของเรือนตายไปด้วย เมื่อนางทราบข่าวนี้นางไม่อาจตั้งสติได้ นางสลัดผ้านุ่งทิ้งแล้ววิ่งบ่นเพ้อด้วยร่างกายอันเปลือยเปล่าเข้าไปในพระวิหารเชตวัน ในขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงธรรมอยู่ทางกลางบริษัท ประชาชนเห็นนางแล้วร้องบอกกันว่า คนบ้า ๆ อย่าให้เข้ามา พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปล่อยให้นางเข้ามาเถิด แล้วตรัสให้นางได้สติ นางกลับได้สติดังเดิม ใครคนหนึ่งในที่ประชุมนั้นโยนผ้าให้นางนุ่งห่ม นางนั่งฟังพระธรรมเทศนาอันแสดงถึงความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งพิจารณาไปตามพระธรรมเทศนานั้นแล้วได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ทูลขอบวชพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้นางบวชในสำนักของภิกษุณี หลังจากบวชแล้วไม่นาน นางได้เพียงบำเพ็ญสมณธรรมด้วยความตั้งใจจริง และได้บรรลุอรหัตผลในที่สุด
พระปฏจาราเถรีมีความสนใจในพระวินัยเป็นพิเศษ ตั้งใจศึกษาพระวินัยจนมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งเอตทัคคะ (เป็นผู้เลิศกว่าผู้อื่น) ในทางเป็นผู้ทรงพระวินัยเป็นกำลังในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ดำรงอยู่ในภาวะภิกษุณีจนพอสมควรแก่อายุขัยแล้วก็นิพพาน
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1.  เป็นผู้มีความตั้งใจจริง นิสัยตั้งใจจริงต้องทำตามที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จนี้มีมาตั้งแต่พระปฏจาราเถรียังเป็นเด็กสาว แต่เนื่องจากยังขาดประสบการณ์และขาดวิจารณญาณจึงทำให้ผิดพลาดในชีวิต ดังเช่น ตั้งใจจะแต่งงานกับชายคนรักที่ตนรัก ไม่ต้องการแต่งกับคนที่บิดามารดาเลือกให้ก็ต้องทำให้ได้ ดังรายละเอียดข้างต้น แต่ต่อมาเมื่อได้บวชเป็นภิกษุณีแล้วนางได้สานต่อความตั้งใจจริงนั้นในทางที่ถูกต้อง คือ มีความตั้งใจจะศึกษาพระวินัยปิฎกให้เชี่ยวชาญ ก็ไม่ลดละความพยายาม นางได้ใช้วิริยุอุสาหะเป็นอย่างมากศึกษาจนกระทุ่งสำเร็จตามปรารถนา ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีรูปอื่นในด้านนี้
2.  เป็นผู้แนะแนวชีวิตที่ดียิ่ง ชีวิตของพระปฏจาราเถรีเป็นชีวิตที่มากด้วยประกบการณ์ ได้ผ่านมาทั้งความสุข ความสมหวัง และความทุกข์ ความผิดหวังอย่างสาหัส จนเกือบกลายเป็นคนบ้าเสียสติ แต่เมื่อนางได้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตแห่งชีวิตเข้ามาสู่ร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนาแล้ว ประสบการณ์เหล่านั้นกลับเป็นประโยชน์แก่นางและคนอื่น คือ สตรีอื่น ๆ ที่มีปัญหาชีวิตพากันมาขอคำแนะนำ นางได้ให้คำแนะนำที่ดีและช่วยแก้ปัญหาให้พวกเขาเหล่านั้น จนกระทั้งได้รับยกย่องว่า “เป็นครูผู้ยิ่งใหญ่” ของพวกเขา
บรรณานุกรม
วิทย์  วิศทเวทย์ และ เสถียรพงษ์ วรรปก. หนังสือสังคมศึกษา รายวิชา ส 0410 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม.5)พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพม
พระอานนท์
                ท่านเกิดในวรรณะกษัตริย์ ตระกูลศากยะเป็นโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ มีพระสหายสนิท คือ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ รวมทั้งเจ้าชายเทวทัตแห่งเมืองเทวทหะด้วย แต่ท่านมีพิเศษกว่าเจ้าชายพระองค์อื่นๆ ตรงที่เกิดวันเดียวกันกับพระพุทธเจ้า ดังนั้น จึงจัดเป็นสหชาติ (ผู้เกิดพร้อมกัน) ของพระพุทธเจ้า
ท่านออกบวชคราวเดียวกันกับเจ้าชายศากยะอื่นๆ ครั้นบวชแล้วไม่นาน ท่านได้บรรลุพระโสดาปัตติผล แต่มาบรรลุพระอรหันต์ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน รวมเวลาที่ท่านเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันอยู่นานถึง 42 ปี และได้บรรลุพระอรหันต์เมื่ออายุได้ 80 ปี
สาเหตุที่ท่านบรรลุธรรมช้ากว่าพระรูปอื่นๆ เนื่องจากท่านไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม ต้องขวนขวายอยู่กับการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ท่านได้บรรลุธรรมก่อนมีการทำสังคายนาครั้งที่ 1 เพียงไม่กี่ชั่วโมง ท่านเป็นพระสาวกเพียงรูปเดียวที่บรรลุพระอรหันต์โดยไม่อยู่ในอริยบถ 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน นั่นคือ ท่านบรรลุพระอรหันต์ภายหลังจากที่ได้ปฏิบัติธรรมทั้งคืนขณะที่จะเอนกายลงนอนบนเตียง พอยกเท้าพ้นจากพื้นแต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย คลายความยึดมั่นลงได้
หลังบรรลุพระอรหันต์ไม่นานก็รุ่งเช้า เมื่อฉันภัตตาหารเช้าแล้ว ขณะที่พระสงฆ์จำนวน 499 รูป เข้าไปนั่งคอยท่านอยู่ในมณฑลที่ถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภาระ เมืองราชคฤห์ ท่านก็ได้แสดงฤทธิ์เพื่อประกาศให้คณะสงฆ์ได้ทราบว่าท่านได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว ด้วยการดำดินไปโผล่ขึ้นตรงอาสนะที่จัดเตรียมไว้ให้ท่านนั่งนั่นเอง
พระอานนท์มีบทบาทอย่างมากในการประกาศพระพุทธศาสนาและรักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ ผลงานของท่านสามารถประมวลกล่าวได้ดังนี้
1.เป็นผู้ทรงจำธรรมไว้ได้มาก ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นพหูสูต เพราะท่านทูลขอพรจากพระพุทธเจ้าก่อนเข้ารับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐากมีข้อหนึ่งความว่า “ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องใดในที่ลับหลังข้าพระองค์ ขอให้พระองค์ได้โปรดแสดงธรรมเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์อีกครั้งหนึ่ง” ท่านให้เหตุผลว่า เพื่อป้องกันการครหา เพราะถ้ามีผู้ถามว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ที่ไหน และทรงปรารภเหตุอะไร ถ้าท่านตอบไม่ได้ ก็จะมีเสียงครหาว่าอุตส่าห์เสียเวลาติดตามพระพุทธเจ้าอยู่เหมือนเงาตามตัว แต่กับเรื่องแค่นี้ก็ไม่รู้แล้วอย่างนี้จะติดตามไปทำไป
2.เป็นผู้ขวนขวายเพื่อสิทธิสตรี ในช่วงพรรษาแรกยังไม่มีสตรีมาบวชเป็นภิกษุณี เมื่อเวลาผ่านไปหลังตรัสรู้ได้ 5 พรรษา พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางได้พาเจ้าหญิงศากยะจำนวน 500 มาทูลขอบวช ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี แคว้าวัชชี มีพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐาก ครั้งนั้นพระอานนท์ได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการช่วยเหลือให้สตรีเหล่านั้นมีโอกาสได้บวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา
3.เป็นผู้ช่วยระงับความแตกร้าวในพุทธจักร คราวที่พระชาวเมืองโกสัมพีเกิดทะเลาะวิวาทกันเป็นฝ่าย พระพุทธเจ้าทรงตักเตือนก็ไม่สามารถคลายทิฏฐิมานะพระเหล่านั้นลงได้ พระองค์จึงเสด็จไปจำพรรษาในป่าปาลิเลยยกะ ต่อมาพระเหล่านั้นเกิดสำนึกผิดรู้สึกละอายใจ จึงเข้าไปหาพระอานนท์ พร้อมขอร้องให้ท่านพาไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลขอขมา พระอานนท์ได้ทำตามจนสามารถระงับความแตกร้าวให้กลับคืนสู่สภาวะปกติได้
4.เป็นผู้วิสัชนาพระธรรมในคราวปฐมสังคายนา ท่านได้ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม โดยรวบรวมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มาจัดเป็นหมวดหมู่ จนปรากฏเป็น พระสุตตันตปิฎก” และ “พระอภิธรรมปิฎก” ให้เราได้ศึกษามาจนทุกวันนี้
5.เป็นผู้สร้างผู้สืบต่อ ท่านมีลูกศิษย์จำนวนมาก ต่อมาศิษย์ของท่านมีบทบาทสำคัญในการทำสังคายนาครั้งที่ 2 คือ พระสัพพกามี พระยสกากัณฑบุตร พระเรวตะ เป็นต้น
6.การเดินทางออกเยี่ยมพระสงฆ์ในวัดต่างๆ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พุทธบริษัทก็ถือพระอานนท์ว่าเป็นเสมือนตัวแทนพระพุทธเจ้า หลังทำปฐมสังคายนาแล้ว ท่านจึงออกจารึกไปตามวัดต่างๆ เพื่อเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ ปลูกสร้างความสามัคคีไว้เพื่อความไพบูลย์ของพระพุทธศาสนา
การที่พระพุทธศาสนามั่งคงและรุ่งเรืองสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ถือได้ว่าพระอานนท์ได้มีบทบาทสำคัญมากรูปหนึ่ง พระอานนท์ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ 5 ด้าน คือ มีสติ ๑ มีคติ ๑ มีความเพียร ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็นพุทธอุปัฏฐาก ๑
ท่านนิพพานเมื่ออายุได้ 120 ปี หลังพุทธปรินิพพาน 40 ปี นิพพานกลางอากาศระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ โดยเข้าเตโชสมาบัติอธิษฐานจิตให้เกิดไฟลุกไหม้ร่างกาย แล้วแบ่งกระดูกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งไปตกที่เมืองกบิลพัสดุ์ อีกส่วนหนึ่งไปตกที่เมืองเทวทหะ ทั้งนี้เพื่อมิให้ญาติต้องทะเลาะกันเพราะแย่งกระดูก
พระอานนท์ขอประทานพร 8 ประการ
ดังนั้น ท่านพระอานนท์จึงได้กราบทูลขอพร 8 ประการ หากพระองค์ทรงประทานพร 8 ประการนี้ ท่านจึงจะรับตำแหน่งพุทธุปัฏฐากท่านกราบทูลขอพร ว่า
  1. ถ้าจักไม่ประทานจีวรอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์
  2. ถ้าจักไม่ประทานบิณฑบาตอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์
  3. ถ้าจักไม่โปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
  4. ถ้าจักไม่ทรงพาข้าพระองค์ไปในที่ที่ทรงรับนิมนต์ไว้
  5. ถ้าพระองค์จักไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้
  6. ถ้าข้าพระองค์จะพาบริษัทซึ่งมาแต่ที่ไกลเพื่อเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาแล้ว
  7. ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น
  8. ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอันใดในที่ลับหลังข้าพระองค์จักเสด็จมาตรัสบอกพระธรรมเทศนานั้นแก่ข้าพระองค์อีก
เมื่อข้าพระองค์ได้รับพร 8 ประการนี้ แหละจึงจักเป็นพุทธุปัฏฐากของพระองค์

พระอานนท์ผู้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุรูปอื่น

พระอานนท์ได้รับการสรรเสริญจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะ (เลิศ) 5 ประการคือ
  1. มีสติ รอบคอบ
  2. มีคติ คือความทรงจำแม่นยำ
  3. มีความเพียรดี
  4. เป็นพหูสูต
  5. เป็นยอดของภิกษุผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
    ภิกษุอื่น ๆ ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะก็ได้รับเพียงอย่างเดียว แต่พระอานนท์ท่านได้รับถึง 5 ประการ นับว่าหาได้ยากมาก ความเป็นพหูสูตรของพระอานนท์นั้นนับว่าเป็นคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา กล่าวคือภายหลังพุทธปรินิพพานแล้ว มีภิกษุบางพวกกล่าวติเตียนพระศาสนา ทำให้พระมหากัสสปเถระเกิดความสังเวชในใจว่า ในอนาคตพวกอลัชชีจะพากันกำเริบ ย่ำเหยียบพระศาสนา จำต้องกระทำการสังคายนาพระไตรปิฎกให้เป็นหมวดหมู่ จึงได้นัดแนะพระภิกษุสงฆ์ให้ไปประชุมกันที่กรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัยตลอดเข้าพรรษาการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งนั้นได้มีพระมหาเถระ 3 รูปที่มีส่วนสำคัญในการสังคายนา กล่าวคือ พระอานนท์เถระ ผู้เป็นพุทธอุปฐาก ซึ่งได้รับประทานพรข้อที่ 8 ทำให้ท่านเป็นผู้ทรงจำพระพุทธวจนะไว้ได้มาก ท่านจึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม ดังบทสวดคาถาต่าง ๆ มักขึ้นต้นด้วย “เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา…..” อันหมายถึง “ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
หานคร : อักษรเจริญทัศน์ ,  2541.
3.
พระอานนท์
                ท่านเกิดในวรรณะกษัตริย์ ตระกูลศากยะเป็นโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ มีพระสหายสนิท คือ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ รวมทั้งเจ้าชายเทวทัตแห่งเมืองเทวทหะด้วย แต่ท่านมีพิเศษกว่าเจ้าชายพระองค์อื่นๆ ตรงที่เกิดวันเดียวกันกับพระพุทธเจ้า ดังนั้น จึงจัดเป็นสหชาติ (ผู้เกิดพร้อมกัน) ของพระพุทธเจ้า
ท่านออกบวชคราวเดียวกันกับเจ้าชายศากยะอื่นๆ ครั้นบวชแล้วไม่นาน ท่านได้บรรลุพระโสดาปัตติผล แต่มาบรรลุพระอรหันต์ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน รวมเวลาที่ท่านเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันอยู่นานถึง 42 ปี และได้บรรลุพระอรหันต์เมื่ออายุได้ 80 ปี
สาเหตุที่ท่านบรรลุธรรมช้ากว่าพระรูปอื่นๆ เนื่องจากท่านไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม ต้องขวนขวายอยู่กับการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ท่านได้บรรลุธรรมก่อนมีการทำสังคายนาครั้งที่ 1 เพียงไม่กี่ชั่วโมง ท่านเป็นพระสาวกเพียงรูปเดียวที่บรรลุพระอรหันต์โดยไม่อยู่ในอริยบถ 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน นั่นคือ ท่านบรรลุพระอรหันต์ภายหลังจากที่ได้ปฏิบัติธรรมทั้งคืนขณะที่จะเอนกายลงนอนบนเตียง พอยกเท้าพ้นจากพื้นแต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย คลายความยึดมั่นลงได้
หลังบรรลุพระอรหันต์ไม่นานก็รุ่งเช้า เมื่อฉันภัตตาหารเช้าแล้ว ขณะที่พระสงฆ์จำนวน 499 รูป เข้าไปนั่งคอยท่านอยู่ในมณฑลที่ถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภาระ เมืองราชคฤห์ ท่านก็ได้แสดงฤทธิ์เพื่อประกาศให้คณะสงฆ์ได้ทราบว่าท่านได้บรรลุพระอรหันต์แล้ว ด้วยการดำดินไปโผล่ขึ้นตรงอาสนะที่จัดเตรียมไว้ให้ท่านนั่งนั่นเอง
พระอานนท์มีบทบาทอย่างมากในการประกาศพระพุทธศาสนาและรักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ ผลงานของท่านสามารถประมวลกล่าวได้ดังนี้
1.เป็นผู้ทรงจำธรรมไว้ได้มาก ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นพหูสูต เพราะท่านทูลขอพรจากพระพุทธเจ้าก่อนเข้ารับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐากมีข้อหนึ่งความว่า “ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องใดในที่ลับหลังข้าพระองค์ ขอให้พระองค์ได้โปรดแสดงธรรมเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์อีกครั้งหนึ่ง” ท่านให้เหตุผลว่า เพื่อป้องกันการครหา เพราะถ้ามีผู้ถามว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ที่ไหน และทรงปรารภเหตุอะไร ถ้าท่านตอบไม่ได้ ก็จะมีเสียงครหาว่าอุตส่าห์เสียเวลาติดตามพระพุทธเจ้าอยู่เหมือนเงาตามตัว แต่กับเรื่องแค่นี้ก็ไม่รู้แล้วอย่างนี้จะติดตามไปทำไป
2.เป็นผู้ขวนขวายเพื่อสิทธิสตรี ในช่วงพรรษาแรกยังไม่มีสตรีมาบวชเป็นภิกษุณี เมื่อเวลาผ่านไปหลังตรัสรู้ได้ 5 พรรษา พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางได้พาเจ้าหญิงศากยะจำนวน 500 มาทูลขอบวช ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี แคว้าวัชชี มีพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐาก ครั้งนั้นพระอานนท์ได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการช่วยเหลือให้สตรีเหล่านั้นมีโอกาสได้บวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา
3.เป็นผู้ช่วยระงับความแตกร้าวในพุทธจักร คราวที่พระชาวเมืองโกสัมพีเกิดทะเลาะวิวาทกันเป็นฝ่าย พระพุทธเจ้าทรงตักเตือนก็ไม่สามารถคลายทิฏฐิมานะพระเหล่านั้นลงได้ พระองค์จึงเสด็จไปจำพรรษาในป่าปาลิเลยยกะ ต่อมาพระเหล่านั้นเกิดสำนึกผิดรู้สึกละอายใจ จึงเข้าไปหาพระอานนท์ พร้อมขอร้องให้ท่านพาไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลขอขมา พระอานนท์ได้ทำตามจนสามารถระงับความแตกร้าวให้กลับคืนสู่สภาวะปกติได้
4.เป็นผู้วิสัชนาพระธรรมในคราวปฐมสังคายนา ท่านได้ทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม โดยรวบรวมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มาจัดเป็นหมวดหมู่ จนปรากฏเป็น พระสุตตันตปิฎก” และ “พระอภิธรรมปิฎก” ให้เราได้ศึกษามาจนทุกวันนี้
5.เป็นผู้สร้างผู้สืบต่อ ท่านมีลูกศิษย์จำนวนมาก ต่อมาศิษย์ของท่านมีบทบาทสำคัญในการทำสังคายนาครั้งที่ 2 คือ พระสัพพกามี พระยสกากัณฑบุตร พระเรวตะ เป็นต้น
6.การเดินทางออกเยี่ยมพระสงฆ์ในวัดต่างๆ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พุทธบริษัทก็ถือพระอานนท์ว่าเป็นเสมือนตัวแทนพระพุทธเจ้า หลังทำปฐมสังคายนาแล้ว ท่านจึงออกจารึกไปตามวัดต่างๆ เพื่อเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ ปลูกสร้างความสามัคคีไว้เพื่อความไพบูลย์ของพระพุทธศาสนา
การที่พระพุทธศาสนามั่งคงและรุ่งเรืองสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ถือได้ว่าพระอานนท์ได้มีบทบาทสำคัญมากรูปหนึ่ง พระอานนท์ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ 5 ด้าน คือ มีสติ ๑ มีคติ ๑ มีความเพียร ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็นพุทธอุปัฏฐาก ๑
ท่านนิพพานเมื่ออายุได้ 120 ปี หลังพุทธปรินิพพาน 40 ปี นิพพานกลางอากาศระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ โดยเข้าเตโชสมาบัติอธิษฐานจิตให้เกิดไฟลุกไหม้ร่างกาย แล้วแบ่งกระดูกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งไปตกที่เมืองกบิลพัสดุ์ อีกส่วนหนึ่งไปตกที่เมืองเทวทหะ ทั้งนี้เพื่อมิให้ญาติต้องทะเลาะกันเพราะแย่งกระดูก
พระอานนท์ขอประทานพร 8 ประการ
ดังนั้น ท่านพระอานนท์จึงได้กราบทูลขอพร 8 ประการ หากพระองค์ทรงประทานพร 8 ประการนี้ ท่านจึงจะรับตำแหน่งพุทธุปัฏฐากท่านกราบทูลขอพร ว่า
  1. ถ้าจักไม่ประทานจีวรอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์
  2. ถ้าจักไม่ประทานบิณฑบาตอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์
  3. ถ้าจักไม่โปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
  4. ถ้าจักไม่ทรงพาข้าพระองค์ไปในที่ที่ทรงรับนิมนต์ไว้
  5. ถ้าพระองค์จักไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้
  6. ถ้าข้าพระองค์จะพาบริษัทซึ่งมาแต่ที่ไกลเพื่อเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาแล้ว
  7. ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น
  8. ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอันใดในที่ลับหลังข้าพระองค์จักเสด็จมาตรัสบอกพระธรรมเทศนานั้นแก่ข้าพระองค์อีก
เมื่อข้าพระองค์ได้รับพร 8 ประการนี้ แหละจึงจักเป็นพุทธุปัฏฐากของพระองค์

พระอานนท์ผู้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุรูปอื่น

พระอานนท์ได้รับการสรรเสริญจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะ (เลิศ) 5 ประการคือ
  1. มีสติ รอบคอบ
  2. มีคติ คือความทรงจำแม่นยำ
  3. มีความเพียรดี
  4. เป็นพหูสูต
  5. เป็นยอดของภิกษุผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
    ภิกษุอื่น ๆ ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะก็ได้รับเพียงอย่างเดียว แต่พระอานนท์ท่านได้รับถึง 5 ประการ นับว่าหาได้ยากมาก ความเป็นพหูสูตรของพระอานนท์นั้นนับว่าเป็นคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา กล่าวคือภายหลังพุทธปรินิพพานแล้ว มีภิกษุบางพวกกล่าวติเตียนพระศาสนา ทำให้พระมหากัสสปเถระเกิดความสังเวชในใจว่า ในอนาคตพวกอลัชชีจะพากันกำเริบ ย่ำเหยียบพระศาสนา จำต้องกระทำการสังคายนาพระไตรปิฎกให้เป็นหมวดหมู่ จึงได้นัดแนะพระภิกษุสงฆ์ให้ไปประชุมกันที่กรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัยตลอดเข้าพรรษาการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งนั้นได้มีพระมหาเถระ 3 รูปที่มีส่วนสำคัญในการสังคายนา กล่าวคือ พระอานนท์เถระ ผู้เป็นพุทธอุปฐาก ซึ่งได้รับประทานพรข้อที่ 8 ทำให้ท่านเป็นผู้ทรงจำพระพุทธวจนะไว้ได้มาก ท่านจึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม ดังบทสวดคาถาต่าง ๆ มักขึ้นต้นด้วย “เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา…..” อันหมายถึง “ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
4. พระอุบาลี
ประวัติ
พระอุบาลี เป็นบุตรของนายภูษามาลา (ช่างตัดผม) ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงบิลพัสดุ์ เมื่ออุบาลีเจริญวัยขึ้น ได้เป็นช่างกัลบก ประจำราชสำนักแห่งเจ้าศากยะ กรุงกบิลพัสดุ์ ในขณะนั้นพระราชกุมารแห่งศากวงศ์และโกลิยวงศ์ ได้ออกบาชด้วยกัน 6 องค์คือ ภัททิยะ อนุรุทธะ อานนท์ ภัคคุ และเทวทัต (ตามหลักฐานได้บันทึกไว้ว่า เทวทัตกุมารเป็นราชกุมารแห่งโกลิยวงศ์) ซึ่งได้ออกบวชในสำนักของพระพุทธเจ้าที่อนุปิยนิคม แคว้นมัลละ อุบาลีจึงได้ตามเสด็จไปออกบวชด้วย
เนื่องจากขัตติยกุมารทั้ง 6 องค์ ทรงมีพระประสงค์จะขจัด “ขัตติยมานะ” ความถือตัวว่าเป็นกษัตริย์ เลยทรงยินยามพร้อมกันให้อุบาลีบาชก่อน เพื่อให้อุบาลีมีอายุโสมากกว่าจะได้ทราบไหว้อย่างสนิทใจอุบาลีจึงได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าก่อน และมีพรรษามากกว่าพระราชกุมารองค์อื่น ๆ ด้วยประการฉะนี้
หลังจากบวชแล้วพระพุทธเจ้าทรงประทานกรรมฐานให้พระอุบาลีฝึกปฏิบัติ ไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ทรงอภิญญาและแตกฉานในปฏิสัมภิทา 4 (คือแตกฉานในอรรถแตกฉานในธรรม แตกฉานในนิรุกติ และแตกฉานในปฏิภาณ)
พระอุบาลีมีความสนใจในพระวินัยเป็นพิเศษ ได้ศึกษาพระวินัยจากพระพุทธองค์ จนมีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถในด้านการพิจารณาอภิกรณ์ (ตัดสินคดี) ดังกรณีภิกษุณีรูปหนึ่งตั้งครรภ์มาก่อนบวช ถูกพระเทวหัตตัดสินให้ลาสิกขาด้วยกล่าวหาว่าเธอไม่บริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าทรงมอบภาระให้พระอุบาลีตัดสิน พระอุบาลีได้ตัดสินอย่างสุขุมรอบคอบ ด้วยความร่วมมือจากอนาถบิณฑิกเศรษฐีและนางวิสาขาในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ของสตรี ผลปรากฏว่านางภิกษุณีรูปนั้นบริสุทธิ์ เพราะตั้งครรภ์มาก่อนเข้ามาบวช”
พระอุบาลี ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็น “เอตทัคคะ” (เลิศกว่าผู้อื่น) ในด้านการทรงจำพระวินัย หรือในด้านมีความเชี่ยวชาญในพระวินัย เพราะคุณสมบัตินี้เอง เมื่อพระมหากัสสปะดำริจะทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก หลังพุทธปรินิพพานได้ 3 เดือน  ท่านได้ทรงคัดเลือกพระอรหันค์ผู้ทรงอภิญญาและแตกฉานในปฏิสัมภิทาได้ 500 รูป พระอุบาลีเป็นองค์หนึ่งในจำนวนนั้น และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ทำหน้าที่วิสัชนาพระวินัยท่ามกลางที่ประชมคู่กับพระอานนท์ ซึ่งทำหน้าที่วิสัชนาพระธรรม โดยพระมหากัสสปะทำหน้าที่ซักถาม ซึ่งนับว่าพระอุบาลีได้ทำประโยชน์อันสำคัญยิ่งแก่พระพุทธศาสนา
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1.  เป็นผู้เชี่ยวชาญในพระวินัย คุณสมบัติข้อนี้ชัดเจน เพราะตำแหน่ง “เอตทัคคะ” นั้น คล้ายกับเป็นตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้าน ที่ได้รับการยอมรับจากพระพุทธองค์ เรื่องของพระวินัยเป็นเรื่องของกฎระเบียบแบบแผนแห่งความพระพฤติ เราสามารถประยุกต์คุณสมบัติข้อนี้ของท่านมาใช้ในชีวิตประจำวัน คือ จะต้องเรียนรู้กฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานหรือสถาบันที่ตนสังกัด เช่น ระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน แล้วปฏิบัติตนให้เคร่งครัดตามนั้น ไม่ล่วงละเมิด ตลอดจนรู้กฎหมายที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน และปฏิบัติตามกฎหมายในฐานะเป็นพลเมืองดีของประเทศ
2.  เป็นครูที่ดี ครูในที่นี้นั้น ย่อมไม่หวงความรู้และมีเทคนิควิธีในการถ่ายทอดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ พระอุบาลีมีคุณสมบัติข้อนี้ครบถ้วน ท่านมีความชำนาญพิเศษในเรื่องพระวินัย ไม่หวงความรู้ไว้เฉพาะตน มีโอกาสเมื่อใดก็สั่งสอนภิกษุอื่น ๆ ให้รู้ตามเมื่อนั้น ดังหลักฐานในพระวินัยปิฏก มหาวิภังค์ (วิ. มหา. 2/685/452) ท่านได้เอาใจใส่ถ่ายทอดความรู้เรื่องพระวินัยแก่ภิกษุเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งกลายเป็น “สำนักทรงจำพระวินัย” ในสมัยต่อมา พระเถระที่เชี่ยวชาญพระวัยล้วนเป็นศิษย์หรือศิษย์ของศิษย์ของท่านพระอุบาลีทั้งสิ้น
3.  ใฝ่ความรู้เสมอ คุณธรรมข้อนี้คือ “สิกขากามตา” คือ ความเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา หรือ “ความใฝ่รู้” พระอุบาลีมีคุณธรรมข้อนี้เด่นชัด ถึงแม้ท่านจะได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่ามีความรู้ในเรื่องพระวินัยกว่าภิกษุรูปอื่น ท่านก็ไม่พอใจเพียงแค่นั้น หากยังต้องขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเมื่อใด ก็กราบทูลถามพระพุทธเจ้าเสมอ ดังกราบถามปัญหาพระวินัยมากมายหลายเรื่องจากพระองค์ เป็นต้น (ดูพระวินัยปิฎกเล่มที่ 8 ข้อที่ 1161-1228 หน้า 443-508) คุณสมบัติข้อนี้ควรที่เราจะถือเอาเป็นแบบอย่างเป็นอย่างยิ่ง ถือถึงแม้จะมีความรู้ในเรื่องใดอยู่แล้ว ก็ไม่ควรทะนงตนว่ารู้ดีแล้ว ควรขวนขวายหาความรู้ด้วยการสอบถามจากผู้อื่น หรือค้นคว้าตำรับตำรามาอ่านเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มพูนความรู้เดิมให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น
บรรณานุกรม
วิทย์  วิศทเวทย์ และ เสถียรพงษ์ วรรปก. หนังสือสังคมศึกษา รายวิชา ส 0411 พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศศึกษาปีที่ 5 (ม.5) พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์ ,  2541.
5.
หมอชีวกโกมารภัจจ์
ประวัติหมอชีวกโกมารภัจจ์
หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นบุตรของนางสาลวดี นางนครโสเภณีประจำเมืองราชคฤห์แคว้นมคธ ซึ่งตำแหน่งนางนครโสเภณีสมัยนั้นเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติเพราะพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ต่างจากสมัยนี้เพราะผู้ประกอบอาชีพนี้เป็นที่ดูหมิ่นเหยียดหยามของบุคคลทั่วไป นางสาลวดี ตั้งครรภ์โดยบังเอิญ เมื่อคลอดบุตรชายออกมาจึงสั่งให้สาวใช้นำไปทิ้งไว้ทีกองขยะนอกเมืองเคราะห์ดีที่อภัยราชกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารไปพบเข้าขณะเสด็จออกไปนอกเมือง จึงทรงนำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ชื่อว่า “ชีวก” ตั้งขึ้นตามคำกราบทูลตอบคำถามพระองค์ที่ตรัสถามว่า “เด็กยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า” มหาดเล็กกราบทูลว่า “ยังมีชีวิตอยู่” (ชีวโก) ส่วนคำว่า “โกมารภัจจ์” แปลว่า “กุมารที่ได้รับการเลี้ยงดู” หรือ “กรุมารในราชสำนัก” อันหมายถึง “บุตรบุญธรรม” นั้นเอง เมื่อชีวกโกมารภัจจ์โตขึ้นถูกพวกเด็ก ๆ ในวังล้อเลียนว่า “เจ้าลูกไม่มีพ่อ” ด้วยความมานะจึงหนีพระบิดาเลี้ยงไปเรียนศิลปวิทยาที่เมืองตักกสิลา เพื่อเอาชนะคำดูหมิ่นของพวกเด็กในวังให้ได้ วิชาที่ชีวกเรียนคือวิชาแพทย์ เนื่องจากไม่มีค่าเล่าเรียนให้อาจารย์จึงอาสาอยู่รับใช้อาจารย์สารพัดแล้วแต่ท่านจะใช้ อาศัยเป็นเด็กอ่อนน้อมถ่อมตน มีความเคารพเชื่อฟังอาจารย์ จึงเป็นที่โปรดปรานของอาจารย์มาก มีศิลปวิทยาเท่าไร อาจารย์ก็ถ่ายทอดให้หมดโดยไม่ปิดบังอำพราง ชีวกเรียนวิชาแพทย์อยู่ 7 ปี จึงไปกราบลาอาจารย์กลับบ้าน อาจารย์ได้ทดสอบความรู้โดยให้เข้าป่าไปสำรวจดูต้นไม้ว่าต้นไหนใช้ทำยาไม่ได้ให้นำตัวอย่างกลับมาให้อาจารย์ดู ปรากฏว่าเขาเดินกลับมามือเปล่า เพราะต้นไม้ทุกต้นใช้ทำยาได้หมด อาจารย์บอกเขาว่าเขาได้เรียนจบแล้วจึงอนุญาตให้เขากลับ หลังจากกลับมายังเมืองราชคฤห์แล้ว ชีวกได้ถวายการรักษาพระอาการประชวรของพระเจ้าพิมพิสารหายขาดจาก “ภคันทลาพาธ” (โรคริดสีดวงทวาร) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหมอหลวงพร้อมทั้งได้รับพระราชทานสวนมะม่วงให้เป็นสมบัติอีกด้วย ต่อมาชีวกได้ถวายสวนมะม่วงแห่งนี้ให้เป็นวัดที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ได้ถวายการรักษา แต่พระบรมศาสดาเมื่อคราวพระองค์ทรงพระประชวร และถวายตัวเป็นแพทย์ประจำพระองค์อีกด้วย ครั้งหนึ่งเขาได้ไปถวายการรักษาพระเจ้าจัณฑปัชโชค แห่งกรุงอุชเชนีแคว้นอวันตี หายจากโรคร้าย ได้รับพระราชทานผ้าแพรเนื้อละเอียด (ผ้าสีเวยยกะ ผ้าทอที่แคว้นสีวี) มาผืนหนึ่ง เขานำไปถวายพระพุทธเจ้า เนื่องจากสมัยนั้น พระภิกษุสงฆ์ถือผ้าบังสุกุลอย่างเดียว (คือแสวงหาเศษผ้าที่ชาวบ้านเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าห่อศพมาเย็บทำจีวร) พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้รับผ้าจีวรที่คฤหัสถ์ทำถวาย หมอชีวกจึงกราบทูลขอพระพุทธเจ้าให้ทรงรับผ้าแพรที่เขาน้อยถวาย และให้ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับผ้าจีวรที่ชาวบ้านผู้มีศรัทธาจัดถวายด้วย พระพุทธเจ้าทรงรับผ้าจากหมอชีวก และประทานอนุญาตให้พระสงฆ์รับผ้าที่ชาวบ้านนำมาถวายได้ตั้งแต่บัดนั้น
หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นอุบาสกที่ดีคนหนึ่งนอกจากถวายการรักษาพยาบาลพระพุทธเจ้า พระภิกษุสงฆ์ และประชาชนแล้ว ยังหาเวลาเข้าเฝ้าทูลถามปัญหาข้อข้องใจในธรรมะจากระพุทธเจ้าเนื่อง ๆ มีพระสูตรหลายสูตรบันทึกคำสนทนาและปัญหาของหมอชีวก เรื่องที่หมอชีวกนำขึ้นมากราบทูลถามเพื่อความรู้ที่ถูกต้อง ล้วนเป็นเรื่องสำคัญที่น่ารู้ เช่น พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อสัตว์หรือไม่ อุบาสกที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร เป็นต้น
ตลอดชีวิตหมอชีวกได้บำเพ็ญแต่สิ่งที่ดีงาม ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย ไม่เลือกยากดีมีจน จนได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ (เป็นผู้เลิศกว่าคนอื่น) ในทาง “เป็นที่รักของปวงชน” ในวงการแพทย์แผนโบราณปัจจุบันนี้ คือว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็น “บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ” เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1.  เป็นผู้มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงยิ่ง หมอชีวกโกมารภัจจ์มีความตั้งใจแน่วแน่ตั้งแต่ยังเด็กแล้วว่าจะศึกษาวิชาการ เพื่อให้เป็นที่นับหน้าถือตาของคนอื่นให้จงได้ เมื่อถูกดูหมิ่นเหยียดหยามจากบรรดาเด็ก ๆ ในวังว่าเป็นลูกไม่มีพ่อ แทนที่จะโต้ตอบในแง่ลบเช่นด่าตอบหรือทำร้าย เขากลับคิดในแง่สร้างสรรค์ว่า “สักวันหนึ่งเถอะ ลูกไม่มีพ่อคนนี้จะเรียนวิชาใส่ตัวเอาชนะพวกลูกมีพ่อเหล่านี้ให้ได้” จึงได้เดินทางไปศึกษาวิชาแพทย์จนสำเร็จสมความตั้งใจ ที่เขาได้เคลื่อนย้ายสถานภาพจากเด็กกำพร้ากลายมาเป็นนายแพทย์ผู้เป็นที่เคารพนับถือของคนเกือบทั่วประเทศได้เช่นนี้ ก็เพราะเขามีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมาตั้งแต่สมัยยังเด็กนั้นเอง
2.  เป็นผู้ใฝ่รู้และมีความพากเพียรสูงขึ้น เมื่อตั้งใจจะศึกษาเล่าเรียนวิชาใด ก็พยายามหาทางให้ได้เรียน แม้ไม่มีเงินค่าเดินทางก็พยายามตีสนิทกับพวกพ่อค้าวานิชต่างเมืองขออาศัยเดินทางไปยังเมืองตักกสิลาจนได้ รวมทั้งได้ใช้แรงงานถือการอยู่รับใช้งานของอาจารย์แลกกับสิทธิการได้ศึกษาเล่าเรียน ซึ่งแน่นอนว่าการทำงานสารพัดไปด้วยเรียนไปด้วย จะต้องยากลำบากเพียงใดแต่ก็ไม่ย่อท้อ ตั้งใจศึกษาวิชาจากอาจารย์ด้วยความเคารพและอดทน จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา
3.  เป็นอุบาสกที่ดี หมอชีวกโกมารภัจจ์มีความเคารพในพระพุทธเจ้ายึดมั่นในพระรัตนตรัยมาก จะเห็นได้จากการที่เขาถวายสวนมะม่วงให้เป็นวัด และได้สิ่งที่ดี เช่น ได้ผ้าเนื้อละเอียดมาก็นึกถึงพระพุทธเจ้าขึ้นมาทันทีและนำไปถวาย เมื่อครั้งพระเจ้าอชาตศัตรูทรงเกิดความเดือดรอนพระทัยเนื่องจากได้ปลงพระชนม์พระราชบิดา ทรงสะดุ้งหวาดกลัวจนบรรทมไม่หลับ พระองค์ตรัสถามหมอชีวกว่า มีวิธีใดที่จะให้พระองค์สงบพระทัยได้ หมอชีวกได้ถวายคำแนะนำให้พระเจาอชาตศัตรูไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์จนกระทั่งพระเจ้าอชาตศัตรูได้ถวายตนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า การชักจูงคนที่ยังไม่มีศรัทธาให้เกิดความศรัทธาในพระรัตนตรัย การให้คำแนะนำคนที่กำลังมีความทุกข์ให้ได้พบทางผ่อนคลายทุกข์เช่นนี้ นับเป็นหน้าที่ของอุบาสกที่ดีของพระพุทธศาสนา
4.  เป็นผู้เสียสละอย่างยิ่ง ข้อนี้เห็นได้ชัด หมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นทั้งแพทย์หลวง แพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า ขณะเดียวกันก็ยังต้องดูแลประชาชนอีกด้วย หาเวลาพักผ่อนได้ยาก ดังครั้งหนึ่งเมื่อเขาได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าถูกพระเทวทัตทำร้ายบาดเจ็บ (พระเทวทัตกลิ้งหินหมายให้ทับพระองค์ ก้อนหินกลิ้งลงมาปะทะชะง่อนผา สะเก็ดหินไปต้องพระบาทจนห้อพระโลหิต) ก็รีบไปถวายการรักษาพยาบาลพันแผนที่พระบาท แล้วรับเข้าไปตรวจคนไข้ในเมือง ตั้งใจว่าตอนค่ำจะกลับมาแก้ผ้าพันแผล แต่ประตูเมืองปิดก่อนเข้าออกนอกเมืองได้ รอจนกระทั่งรุ่งเช้า เขารีบเร่งเข้าเฝ้าด้วยความเป็นห่วงในพระอาการประชวรของพระพุทธเจ้า เสร็จจากนั้นแล้วก็รีบเข้าเมืองเพื่อรักษาพยาบาลประชาชนต่อไป เขาต้องเสียสละทั้งเวลาทั้งความสุขส่วนตน เพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่พระศาสนาและประชาชน เพราะความเป็นคนเสียสละถึงป่านนี้เขาจึงเป็นที่รักของปวงชนดังที่ทราบอยู่แล้ว
วิทย์  วิศทเวทย์ และ เสถียรพงษ์ วรรปก. หนังสือสังคมศึกษา รายวิชา ส 0410พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศศึกษาปีที่ 5 (ม.5) พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์ ,  2541.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น