วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา


1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา
ความหมายของศาสนา
  • พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า “ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ “ศาสนาจึงมีความหมายในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    • 1. ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Religion” คำในภษาละตินว่า “Religio” แปลว่า “สัมพันธ์” หรือ “ผูกพัน” ซึ่งหมายถึง “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า” (Man and God) หรือ “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า” (Man and Gods) ด้วยการมอบศรัทธษบูชาพระเจ้าหรือเทพเจ้าผู้มีอำนาจเหนือตน และความเคารพยำเกรงศรัทธาดังกล่าวประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ ดังนี้
      • 1.1 เชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในจักรวาล
      • 1.2 เชื่อว่าคำสอนศีลธรรมและกฎหมายเป็นสิ่งที่พระเจ้าหรือเทพเจ้าทรงกำหนด
      • 1.3 เชื่อคำสอนของพระเจ้าหรือเทพเจ้าโดยไม่ต้องพิสูจน์
      • 1.4 อุทิศตนแต่พระเจ้าหรือเทพเจ้า
    • 2. ศาสนามาจากศัพท์เดิมในภาษาสันสฤกตว่า “ศาสน” ตรงกับคำในภาษาบาลีว่า           “สาสน” แปลว่า “คำสั่งสอน” หรือ “การปกครอง” โดยมีความหมายตามลำดับ ดังต่อไปนี้
      • 2.1 คำสั่งสอน แยกได้เป็น “คำสั่ง” อันหมายถึงข้อห้ามทำความชั่วที่เรียกว่า ศีลหรือวินัย และเป็น “คำสอน” อันหมายถึงคำแนะนำให้ทำความดีที่เรียกว่า ธรรม เมื่อรวม “คำสั่ง” และ “คำสอน” เข้าด้วยกัน จึงหมายถึง ศีลธรรม นั่นคือ มีทั้งข้อห้ามทำความชั่วและคำแนะนำให้ทำความดี
      • 2.2 การปกครอง หมายถึง การปกครองจิตใจของตนเอง ความคุมดูแลตนเอง กล่าวตักเตือนตนเองอยู่เสมอ และรับผิดชอบการกระทำของตนเอง บุคคลผู้สามารถบังคับจิตใจตนได้ย่อมจะไม่ทำความชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
      • ลัทธิ คือ คำสอนหรือหลักความเชื่อนั้นๆ ที่อาจจะเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ

ความเป็นมา
  • ศาสนาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณและถ่ายทอดมายังสังคมมนุษย์ในปัจจุบัน มูลเหตุที่ทำให้เกิดศาสนา สรุปได้ดังนี้
    • 1. เกิดจากความไม่รู้ เนื่องด้วยมนุษย์สมัยโบราณไม่เข้าใจสาเหตุของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า น้ำท่วม ความลึกลับของท้องทะเลและป่าเขา โดยมักเข้าใจว่าเกิดจากการกระทำของอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ (ซึ่งต่อมากำหนเรียกให้เป็นพระเจ้า) จึงเกิดเป็นความเชื่อถือศรัทธาในอำนาจเร้นลับเหล่านั้นและวิวัฒนาการจากความเชื่อมาเป็นศาสนาในที่สุด
    • 2. เกิดจากความกลัว เพราะความไม่รู้ถึงสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติดังกล่าวข้างต้น ทำให้มนุษย์ในอดีตเกิดความกลัว กลัวทั้งภัยธรรมชาติ ความบาดเจ็บ และความตาย จึงต้องการหาที่พึ่งและกราบไหว้บูชาเพื่อให้อำนาจเร้นลับเหล่านั้นเกิดความพึงพอใจ ไม่ลงโทษ
    • 3. เกิดจากความเลื่อมใสศรัทธา เมื่อมนุษย์รู้จักการกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา มีการปฏิบัติสืบต่อ ๆ กันมา และกำหนดเรียกให้เป็นพระเจ้า เทวดา ภูตผี วิญญาณ ฯลฯ ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขและปลอดภัย จากความเชื่อดังกล่าว จึงค่อย ๆ วิวัฒนาการกลายเป็นศาสนาในเวลาต่อมา
    • 4. เกิดจากปัญญา เมื่อมนุษย์เจริญขึ้น รู้จักการใช้สติปัญญาและเหตุผลในการแก้ไขปัญหา ต้องการดับทุกข์ และแสวงหาความสุขในการดำเนินชีวิต ต้องการจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข จึงคิดค้นหลักธรรมคำสอนขึ้นมา ซึ่งได้กลายเป็นศาสนาในที่สุด

ความสำคัญของศาสนา
  • ศาสนาทุกศาสนาในโลก มีความสำคัญต่อมนุษย์และสังคม ดังนี้
    • 1. เป็นที่พึ่งและที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ศาสนาเป็นสถาบันแห่งความสงบร่มเย็น เมื่อใดมีมนุษย์ประสบปัญหาความทุกข์ ศาสนาจะทำหน้าที่เป็นที่พึ่งและที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และช่วยแก้ไขปัญหาความทุกข์ให้คลี่คลายลงไป
    • 2. เป็นกลไกสร้างความสามัคคี ความสงบและสันติสุขในสังคมมนุษย์ ศาสนาเป็นเครื่องมือช่วยให้มนุษย์รักใคร่สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความรู้สึกเป็นพวกพ้องเดียวกัน ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งได้มาก
    • 3. เป็นเครื่องมืออบรมขัดเกลาจิตใจของมนุษย์ให้เป็นตนดี ศาสนาทุกศาสนามีหลักคำสอนให้มนุษย์ละเว้นความชั่ว กลับบาป และประพฤติตนเป็นคนดีของสังคม ทำให้ได้รับความเคารพนับถือ เป็นที่ยอมรับและไว้เนื้อเชื่อใจจากสังคม
    • 4. เป็นมรดกอันล้ำค่าของมนุษยชาติ ศาสนาเป็นมรดกทางสังคมที่สำคัญยิ่งของมนุษย์ มีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ทั้งหลักคำสอน ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และศาสนพิธี ฯลฯ สะท้อนถึงความเจริญทางวัฒนธรรมของมนุษย์แต่ละเชื้อชาติ แต่ละสังคม
    • 5. เป็นบ่อเกิดของศิลปวัฒนธรรม และพื้นฐานของขนบธรรมเนียมประเพณี เมื่อมนุษย์มีความศรัทธาอันแรงกล้าในศาสนาที่ตนนับถือ จะถ่ายทอดรู้สึกนึกคิดดังกล่าวลงในผลงานด้านศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น ภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ ความงามด้านสถาปัตยกรรมของโบสถ์วิหารและวัดวาอารามต่าง ๆ
    • นอกจากนี้ ยังเป็นบ่อเกิดของขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคมมนุษย์อีกมาก เช่น ธรรมเนียมการยกมือไหว้ของคนไทย การทำบุญตักบาตร และประเพณีหล่อและแห่เทียนเข้าพรรษาของชาวพุทธ เป็นต้น
    • 6. เป็นแหล่งผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าให้แก่สังคม โดยนำหลักธรรมคำสอนของศาสนามาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาตนเองให้เป็นคนดี มีวินัย และมีคุณค่าต่อสังคม เช่น การรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด เก็บออมทรัพย์ที่หามาได้ และความกตัญญู ฯลฯ เพื่อให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมประเทศชาติ
    • 7. เป็นกำลังใจให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในการกระทำของตน ตราบใดที่มนุษย์ปฏิบัติตามแนวทางคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือโดยเคร่งครัด จะเกิดความเชื่อมั่นในการกระทำของตนว่าเป็นการทำความดี เป็นการกระทำที่ถูกต้อง ไม่ย่อท้องต่อปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินชีวิต

องค์ประกอบของศาสนา
  • ศาสนา มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้
    • 1. ศาสดา คือ ผู้ก่อตั้ง หรือผู้ประกาศศาสนา เช่น พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของศาสนาพุทธ พระนบี มุฮัมมัด เป็นศาสดาของศาสนาอิสลาม เป็นต้น
    • 2. คัมภีร์ หรือหลักคำสอน คำสอนของศาสดาถูกรวบรวมไว้เป็นหมดหมู่และจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น คัมภีร์พระไตรปิฎกของศาสนาพุทธ และคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ เป็นต้น ศาสนาทุกศาสนาย่อมมีหลักคำสอนของตน โดยมีจุดมุ่งหมายให้ศาสนิกชนเป็นคนดี และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติสุข
    • 3. ผู้สืบทอดศาสนา ทุกศาสนาย่อมมีบุคคลทำหน้าที่เป็นผู้สืบทอดศาสนาให้ยั่งยืน เช่น ศาสนาพุทธมีภิกษุ สามเณร และพุทธศาสนิกชน ศาสนาอิสลาม ไม่มีนักบวชเหมือนศาสนาอื่น ๆ แต่มี “อิหม่าม” เป็นผู้นำในการประกอบศาสนกิจ และมีศาสนิกชนหรือประชาชนผู้นับถือที่เรียกว่า “มุสลิม” เป็นต้น
    • 4. พิธีกรรม พิธีกรรมทางศาสนาส่วนใหญ่ เน้นการกระทำให้มีบรรยากาศของความศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ผู้คนเกิดความเชื่อถือเลื่อมในศรัทธา เช่น พิธีสวดมนต์ไหว้พระของชาวพุทธ หรือการทำละหมาดของชาวมุสลิม เป็นต้น
    • 5. สัญลักษณ์ ศาสนาส่วนใหญ่มีสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมายของศาสนา เพื่อสื่อสารให้    ศาสนิกชนพวกเดียวกันเข้าใจตรงกัน เช่น ศาสนาคริสต์มีสัญลักษณ์เป็นรูปไม้กางเขน ศาสนาพุทธมีสัญลักษณ์เป็นธรรมจักรและกวางหมอบ (หรือแม้แต่พระพุทธรูป เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าหมายถึงสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธ)
    • 6. ศาสนสถาน เป็นสถานที่ที่ศาสนิกชนมาชุมนุมปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกัน หรือเผยแผ่หลักคำสอน เช่น วัดในศาสนาพุทธ โบสถ์ในศาสนาคริสต์ และมัสยิดในศาสนาอิสลาม เป็นต้น

ประเภทของศาสนา 
  • 1. เทวนิยม เชื่อว่ามีพระเจ้า และนับถือพระเจ้าซึ่งพระเจ้านั้นเป็นทั้งผู้สร้างและกำหนดสรรพสิ่งบนโลกมนุษย์โดยที่ศาสนเทวนิยมยังสามารถจำแนกได้อีก 2 ประเภท ดังนี้
    • 1.1 เอกเทวนิยม  เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว ได้แก่ ยูดาย คริสต์ อิสลาม ซิกข์ เป็นต้น
    • 1.2 พหุเทวนิยม  เป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าหลายเดียว เช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
  • 2. อเทวนิยม  ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า และเชื่อว่าทุกสิ่งนั้น ถ้าไม่เกิดจาก มนุษย์สร้าง ก็จะเป็น ธรรมชาติที่สร้างขึ้นม   ** และเชื่อมั่นในศักยภาพของ มนุษย์ เช่น พุทธ เชน เป็นต้น
  • 2. ศาสนาระดับสากล เช่น ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู



สัมพุทธชยันตี คำว่า สัมพุทธชยันตี หรือ พุทธชยันตี สันนิษฐานว่าเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในช่วงก่อนปีพ.ศ. 2500 ในประเทศศรีลังกาและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยดำริของ ฯพณฯ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ท่านได้ดำริให้ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันบูรณะลุมพินีวัน ที่ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล ให้เป็นพุทธอุทยานประวัติศาสตร์ของโลก โดยเรียกว่า การฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษ
(2500th Buddha Jayanti Celebration) โดยนำคำ Buddha Jayanti (बुद्ध जयंती) ซึ่งเป็นคำเรียกวันครบรอบของชาวอินเดียและเนปาลมาใช้ เพื่อให้เกียรติประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของพุทธสังเวชนียสถานและมีการรณรงค์ให้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาต่าง ๆ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในปีนั้น เช่น ประเทศพม่า ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย[6][7]เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 25 พุทธศตวรรษในครั้งนั้น ในประเทศอินเดีย ได้มีการจัดกิจกรรมฟื้นฟูพระพุทธศาสนา โดยการนำของ ดร.บี.อาร์.อามเพฑกรนำชาวอินเดียประมาณ 2 แสนคนปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ การสร้างสวนสาธารณะพุทธชยันตีไว้ที่กรุงนิวเดลีเพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับวาระ นี้ และนอกจากนี้ ฯพณฯ ชวาหระลาล เนห์รู นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ยังได้เชิญชวนให้ประเทศพุทธศาสนาทั่วโลกมาสร้างวัดไว้ในดินแดนพุทธอุบัติภูมิอีกด้วย[8] ในประเทศพม่า ได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างปาสาณคูหาเพื่อการทำฉัฏฐสังคีติสังคายนาพระไตรปิฎกสำหรับในประเทศศรีลังกา ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลอง เพื่อเป็นการประกาศศักยภาพของประเทศศรีลังกาหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี พ.ศ. 2491 ด้วยโดยในส่วนของประเทศไทย ในสมัยของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ก็ได้มีการฉลองเนื่องในโอกาสพุทธชยันตีนี้ด้วย โดยจัดเป็นงานฉลองทางพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย มีการจัดสร้างพุทธมณฑล การประกาศให้วันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมพระราชบัญญัติล้างมลทิน[13] มีการออกประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานบริเวณสนามหลวงเป็นสังฆปริมณฑลสำหรับจัดงานฉลองในครั้งนี้เป็นการชั่วคราวด้วย นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังได้ออกพระราชบัญญัติเหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เป็นกรณีพิเศษด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประเทศไทยที่รัฐบาลมีการออกเหรียญที่ระลึก และแพรแถบ เนื่องในโอกาสสำคัญทางศาสนา อย่างไรก็ดี การจัดงานครั้งนั้นในประเทศไทย ได้ใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ”ทำให้คำว่า “พุทธชยันตี” ไม่แพร่หลายในประเทศไทยเหมือนประเทศอื่น ๆ
http://th.wikipedia.org/wikiสัมพุทธชยันตี
แบบทดสอบ เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา
   คำชี้แจงให้นักเรียนทำเครื่องหมาย (X)  ลงในกระดาษคำตอบที่เห็นว่าถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. มูลเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดศาสนาต่างๆ ขึ้นในโลก คือเรื่องใด
ก. ความสงสัย                                ข. ความกลัวในปรากฏการณ์ต่าง ๆ
ค. ความต้องการสุขสมบูรณ์           ง. ความต้องการสงบสุขในสังคม
2. องค์ประกอบใดของศาสนาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
ก. รูปเคารพ                                      ข. ศาสนสถาน
ค. หลักคำสอน                                 ง. องค์ศาสดา
3. ศาสนามีประโยชน์ต่อมนุษย์ด้านใดมากที่สุด
ก. เป็นที่พึ่งทางใจ                           ข. เป็นบ่อเกิดของประเพณี
ค. เป็นรากฐานของกฎหมาย          ง. เป็นแรงบันดาลใจของศิลปะ
4. ข้อใดเป็นความเชื่อของศาสนาประเภทอเทวนิยม
ก. พระเจ้าสร้างสรรพสิ่งและโลก
ข. พระเจ้าบันดาลให้สรรพสิ่งเป็นไปตามพระประสงค์
ค. เชื่อพระเจ้าแต่ไม่นับถือบูชาพระเจ้า
ง. ไม่เชื่อพระเจ้า แต่เชื่อในกฎธรรมชาติ
5. เป้าหมายสูงสุดของศาสนาประเภทเทวนิยม
ก. การไปอยู่รวมกับพระเจ้า                    ข. การคืนร่างเดิมและเกิดใหม่
ค. การเวียนว่ายตายเกิดตามสังสารวัฏ    ง. การหลุดพ้นการเกิด – ดับ
6. ปัญหาต่าง ๆ มากมายในสังคมปัจจุบันทั้งปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ
สังคม อาชญากรรมและยาเสพติด  เป็นต้น เกิดจากการขาดสิ่งสำคัญที่
สุดคือ อะไร
ก. ผู้นำที่มีความสามารถ                                            ข. คุณธรรม จริยธรรม
ค. การศึกษาไม่ทั่วถึง                                                  ง. ศาสนาเสื่อม
7. องค์ประกอบที่มีปรากฏอยู่ในศาสนาสำคัญในปัจจุบันคือข้อใด
ก. ศาสดา และนักบวช                                                 ข. รูปเคารพและศาสนสถาน
ค. นักบวชและศาสนพิธี                                                ง. ศาสนพิธีและหลักคำสอน
8. ทุกศาสนามีหลักคำสอนตรงกันในเรื่องใด
ก. ความศรัทธาจงรักภักดีในพระเจ้า
ข. ความเสมอภาคในมนุษย์ทุกคน
ค. การให้อภัย ประนีประนอม ปรองดอง
ง. การทำความดี ละเว้นความชั่ว
9. คำว่า ลัทธิและศาสนา ตรงกับความหมายในข้อใด
ก. คำสอนของนักปราชญ์ และศาสดา
ข. คติ ความคิดเห็น และคำสั่งสอน
ค. จุดเริ่มต้นของศาสนา และคำสั่งสอน
ง. ความเชื่อ และคำสอนของนักปราชญ์ในศาสนา
10. ข้อใดเป็นผลมาจากความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาของศาสนิกชน
ก. ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม          ข. ประเพณีมงคลสมรส
ค. ความรักแผ่นดินบ้านเกิด              ง. การเกิดนักบวชในศาสนาต่างๆ
11.  องค์ประกอบของศาสนาข้อใด ทำให้ศาสนาเกิดความศักดิ์สิทธิ์มากที่สุด
ก. สัญลักษณ์                                    ข. พิธีกรรม
ค. ศาสนสถาน                                   ง. คัมภีร์หลักคำสอน
12.  องค์ประกอบที่มีอยู่ในศาสนาสำคัญในปัจจุบันคือข้อใด
ก. ศาสนาและนักบวช                       ข. รูปเคารพและศาสนสถาน
ค. นักบวชและศาสนพิธี                    ง. ศาสนพิธีและหลักคำสอน
13. ข้อใดไม่ใช่มูลเหตุทำให้เกิดศาสนาในสมัยโบราณ
ก. เกิดจากความกลัว
ข. เกิดจากความไม่รู้
ค. เกิดจากการทำสงครามรบพุ่งกัน
ง. เกิดจากสัญชาตญาณเอาตัวรอด
14. องค์ประกอบของศาสนาข้อใด เป็นที่รวมแห่งความรักและความเข้าใจอัน
ดีต่อกันในหมู่คณะของคนที่นับถือศาสนาเดียวกัน
ก. ศาสดา                                                        ข. ศาสนสถาน
ค. รูปเคารพและสัญลักษณ์                                               ง. ศาสนพิธี
15. สิ่งใดทำให้มนุษย์เกิดความหวาดกลัว จนเป็นมูลเหตุของการเกิดศาสนาในที่สุด
ก. ขาดผู้นำที่เข้มแข็ง
ข. ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
ค. การขาดแคลนน้ำและอาหาร
ง. การรุกรานของศัตรู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น