วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่ ๘ การฝึกสมาธิ

การฝึกสมาธิ

๑. สมาธิ
สมาธิ แปลว่า ตั้งมั่น คือหมายถึงความสงบ ตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่านของจิตใจ ซึ่งสมาธินี้จะมีอยู่ ๒ ประเภท อันได้แก่
  • ๑. สมาธิใช้งาน ซึ่งก็คือความตั้งใจตามธรรมดา 
  • ๒. สมาธิขั้นสูง ซึ่งก็คือความตั้งใจที่สูงมาก
  • ขณะที่เราตั้งใจเรียน หรือตั้งใจฟัง ตั้งใจพูด ตั้งใจคิด ตั้งใจทำอยู่นั้น เราก็มีสมาธิขั้นใช้งานอยู่แล้ว ซึ่งสมาธิใช้งานนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเรียน หรือการทำงานทั้งหลาย   ส่วนสมาธิขั้นสูงนั้นเป็นการฝึกจิตให้สงบนิ่งอย่างยิ่ง(ฌาน) จนไม่มีแม้ความคิดนึกใดๆอยู่เลย ซึ่งสมาธิขั้นสูงนี้ถ้าฝึกได้สำเร็จจะทำให้เรามีสมาธิใช้งานที่สมบูรณ์.

๒. ประโยชน์ของสมาธิ
ประโยชน์ของสมาธิก็ได้แก่ 
  • ๑. ทำให้เกิดความสุขสงบทันตาเห็น 
  • ๒. ทำให้มีจิตหนักแน่นมั่นคง 
  • ๓. ทำให้มีความละเอียดรอบครอบ 
  • ๔. เป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญา

๓. ศัตรูของสมาธิ
สิ่งที่มาทำลายจิตไม่ให้มีสมาธิก็คืออาการของกิเลสอ่อนๆที่เรียกว่า “นิวรณ์” ซึ่งสรุปได้ ๒ อาการ อันได้แก่ 
  • ๑. ความรู้สึกรัก, และชัง 
  • ๒. ความรู้สึกหดหู่ เซื่องซึม มึนชา 
  • ๓. ความคิดฟุ้งซ่านต่างๆนาๆ 
  • นิวรณ์แต่ละตัวนี้เองที่ผลัดเปลี่ยนกันเกิดขึ้นมาครอบงำจิตของเราอยู่เกือบจะทั้งวัน จึงทำให้จิตของเราไม่มีสมาธิในการเรียน หรือในการทำงาน จึงเรียนไม่รู้เรื่อง ทำงานไม่ได้ดี เพราะจิตเศร้าหมองขุ่นมัวและไม่สงบ ไม่ปลอดโปร่งแจ่มใส (ไม่นิพพาน) ซึ่งจัดว่าเป็นความทุกข์ชนิดอ่อนๆ.

๓. การฝึกอานาปานสติ
อานาปานสติ หมายถึง สติที่กำหนดอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการฝึกสมาธิขั้นสูง โดยมีหลักการดังนี้
  • ๑. นั่งขัดสมาธิ ตั้งตัวตรง จะหลับตาหรือลืมตาก็ได้ 
  • ๒. บังคับลมหายใจให้เบาและยาวอย่างสม่ำเสมอ 
  • ๓. ตั้งสติกำหนดอยู่ที่ลมหายใจมากระทบบริเวณจมูกตลอดเวลา 
  • ๔. พยายามระวังตัวอยู่เสมอ อย่าให้นิวรณ์และความคิดต่างๆเกิดขึ้นมา
  • การฝึกจะต้องพยายามฝึกอย่างสม่ำเสมอ จนจิตสงบและนิวรณ์อ่อนลง ก็แสดงว่าจิตเริ่มมีสมาธิมากขึ้น และถ้านิวรณ์ ระงับลงและจิตตั้งมั่งสูงมากจนไม่มีความคิดนึกใดๆอยู่เลย ก็แสดงว่าจิตเริ่มมีสมาธิขั้นสูงแล้ว(เริ่มเกิดฌานระดับต้น) ซึ่งก็ต้องหมั่นฝึกอยู่เสมอๆ จิตก็จะเลื่อนสู่สมาธิขั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น