วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่ ๑๐ พระสงฆ์และการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์


บทที่ ๑๐ พระสงฆ์และการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์

๑. พระรัตนตรัย 
รัตนตรัย แปลว่า แก้ว ๓ ประการ คือหมายถึง สิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง ๓ อย่าง อันได้แก่ 
  • ๑. พระพุทธ คือพระพุทธเจ้า 
  • ๒. พระธรรม คือคำสอนของพระพุทธเจ้า 
  • ๓. พระสงฆ์ คือผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

๒. พระสงฆ์ ๒ ประเภท
     คำว่า ภิกษุ หมายถึง ผู้ขออาหาร ซึ่งภิกษุนั้นจะนับจำนวนเป็น “รูป” เช่นภิกษุ ๑ รูป แต่ถ้ามีภิกษุมาประชุมอยู่ด้วยกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปจะเรียกว่า สงฆ์ (พระสงฆ์) ซึ่งพระสงฆ์นี้ก็มีแยกได้ ๒ ประเภท อันได้แก่
  • ๑. สมมติสงฆ์ คือพระสงฆ์โดยสมมติ 
  • ๒. อริยสงฆ์ คือเป็นพระสงฆ์โดยคุณธรรม
  • สมมติสงฆ์นั้นก็คือผู้ ที่ได้รับการบวชมาอย่างถูกต้องตามพระวินัย(ศีลของพระภิกษุ)เท่านั้น ส่วนอริยสงฆ์นั้นก็คือ การได้บรรลุคุณธรรมภายในจิตใจ จนทำให้เป็นพระอริยบุคคลในขั้นต่างๆขึ้นมา(ซึ่งมีอยู่ ๔ ขั้น)

๓. หน้าที่ของพระสงฆ์
พระสงฆ์นั้นเมื่อบวชมาแล้วจะมีหน้าที่อยู่ ๔ ประการ อันได้แก่ 
  • ๑. ศึกษาหลักคำสอน 
  • ๒. ปฏิบัติตามคำสอน 
  • ๓. เผยแผ่คำสอน 
  • ๔. ปกป้องคำสอน
  • จุดประสงฆ์ของการบวชเป็นภิกษุที่แท้จริงก็คือปรารถนาจะปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความพ้นทุกข์อย่างถาวร(นิพพาน) ซึ่งก็ต้องมีการศึกษา และปฏิบัติตามคำสอนอย่างจริงจัง จึงจะบรรลุถึงจุดที่มุ่งหมาย และยังต้องมีหน้าที่สอนผู้อื่นต่อไปด้วย อีกทั้งยังต้องคอยปกป้องคำสอนเอาไว้ไม่ให้ใครมาบิดเบือนหรือทำลายได้.

๔. การปฏิบัติต่อพระสงฆ์โดยสรุป
การปฏิบัติต่อพระสงฆ์อย่างถูกต้องเหมาะสมโดยสรุปนั้นก็ได้แก่ 
  • ๑. ทางกาย โดยการปฏิบัติต่อท่านอย่างสุภาพเหมาะสม 
  • ๒. ทางวาจา โดยการพูดกับท่านอย่างสุภาพอ่อนไพเราะอ่อนโยน 
  • ๓. ทางใจ โดยการคิดแต่สิ่งที่ดีงามต่อท่าน

๕. การปฏิบัติต่อพระสงฆ์ในที่สาธารณะ
  • ๑. แสดงความเคารพ(ยกมือไหว้) 
  • ๒. ไม่นั่งเสมอหรือสูงกว่า 
  • ๓. สตรีไม่ควรนั่งม้ายาวเดียวกับพระสงฆ์ (ควรมีบุรุษนั่งครั่น) 
  • ๔. ในที่ประชุมควรให้พระสงฆ์นั่งแถวหน้า 
  • ๕. ควรสละที่นั่งแก่พระสงฆ์บนรถหรือเรือ

๖. การสนทนากับพระสงฆ์
  • ๑. ใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า “ผม” หรือ “ดิฉัน” 
  • ๒. ใช้สรรพนามแทนพระสงฆ์ว่า ท่าน, พระคุณท่าน(ถ้าเป็นญาติให้เรียกหลวงพี่,หรือหลวงพ่อ เป็นต้น ตามลำดับญาติ) 
  • ๓. เวลาพูดรับใช้คำว่า ครับ , ค่ะ 
  • ๔. เวลาพระพูดอย่าพูดสอด 
  • ๕. เวลาฟังพระเทศน์ให้ประนมมือ

๗. การถวายภัตตาหารและปัจจัย
  • ๑. เวลาใส่บาตรให้ถอดหมวก ถอดรองเท้า 
  • ๒ เวลาประเคน(ถวาย)อาหาร ควรห่างประมาณ ๑ ศอก 
  • ๓. สตรีควรถวายที่ผ้ารับประเคน 
  • ๔. หลังเที่ยงไม่ต้องประเคนอาหาร 
  • ๕. ไม่ควรถวายเงิน(ปัจจัย) ถ้าจะถวายควรใส่ซองแล้วใส่ย่าม 
  • ๖. ห้ามบอกชื่ออาหารที่จะนิมนต์(เชิญ)ไปฉันที่บ้าน 
  • ๗. ไม่เจาะจงภิกษุไปฉันภัตตาหารที่บ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น