วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

2. พุทธประวัติโดยย่อ

พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก

2. พุทธประวัติโดยย่อ

1  ชาติตระกูล 

  • เจ้าชายสิทธัตถะทรงถือกำเนิดในวรณะกษัตริย์ ประสูติเมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (เดือนวิสาขะ) ก่อพุทธศักราช 80 ปี พระบิดา คือ พระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์แห่งศากยวงศ์ แคว้นสักกะมีกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นเมืองหลวง (อยู่ทางตอนเหนือของดินแดนชมพูทวีป ในปัจจุบันเป็นประเทศเนปาล) พระมารดา คือ พระนางสิริมหามายา แห่งโกลิยะวงศ์ แคว้นโกลิยะ มีกรุงเทวทหะ เป็นเมืองหลวง (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล) 
  • เมื่อทรงมีพระชนม์ได้ 29 พรรษา ได้เสด็จออกผนวชถือเพศบรรพชิต(นักบวช) โดยมีสาเหตุคือ ทรงได้เห็นความจริงและชีวิตของมนุษย์ ได้แก่ การแก่ เจ็บ ตาย สมณะ (เทวทูตทั้ง 4) และทรงเห็นสภาพปัญหาสังคมตามระบบวรรณะและความไม่เป็นธรรมในสังคม

2  การตรัสรู้ 

  • เมื่อทรงผนวชแล้ว “พระสิทธัตถะโคตรมะ” ได้เดินทางไปยังแคว้นมคธ เพื่อศึกษาและแสวงหาหนทางดับทุกข์ของมวลมนุษย์ ทรงใช้เวลาถึง 6 ปี จึงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (เดิอนวิสาขะ) ก่อนพุทธศักราช 45 ปี เมื่อมีพระชนม์ได้ 35 พรรษา ขั้นตอนการแสวงหาสัจธรรมดังกล่าวทรงกระทำโดยลำดับดังนี้
    • 1) ขั้นที่  1  การฝึกปฏิบัติโยคะ ทรงได้ศึกษาวิธีฝึกปฏิบัติโยคะกับเจ้าสำนัก 2 ท่าน คือ อาฬารดาบส และ อุทกดาบส  แต่ทรงเห็นว่าไม่ใช่หนทางหลุดพ้นจากความทุกข์ จึงทรงเปลี่ยนวิธีการใหม่
    •  2) ขั้นที่  2  การบำเพ็ญตบะ ทรงใช้วิธีทรมารร่างกายให้ลำบาก เช่น เปลือยกาย ตากแดดตากฝน ฉันมูลโค และนอนบนหนามแหลมคม ฯลฯ แต่ก็ยังไม่บรรลุมรรคผล
    • 3) ขั้นที่  3  การบำเพ็ญทุกรกิริยา หมายถึงการกระทำในสิ่งที่ยากยิ่ง ได้แก่ กัดฟัน กลั้นลมหายใจ และอดอาหาร แต่ก็ยังไม่ตรัสรู้จึงเลิกปฏิบัติวิธีนี้ และกลับมาเสวยอาหารเหมือนเดิม
    • 4) ขั้นที่  4  การบำเพ็ญเพียรทางจิต คือ ทรงใช้ปัญญาคิดค้นหาเหตุผล และเกิดความคิดว่าปัญหาชีวิตของมนุษย์ควรจะแก้ไขด้วยการปฏิบัติทางกาย ละควรเดินสายกลางไม่ใช้ทัศนะที่สุดโต่ง

3. การประกาศศาสนา

    • การแสดงปฐมเทศนา พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมครั้งแรก (ปฐมเทศนา) โปรด“ปัญจวัคคีย์” ที่ป่าอิสปตนมฤคยทายวัน ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เรียกหลักธรรมนั้นว่า“ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” สาระสำคัญคือ ใช้แนวทางการดับทุกข์ตามมรรคมีองค์แปด และหลักธรรมอริยสัจ 4 และได้พระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา คือ โกณทัญญะ หลังจากนั้น พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรม“อนัตตลักขณสูตร” (พระสูตรว่าด้วยอนัตตา) จนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง5 สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด
    • การประดิษฐานของพระพุทธศาสนา
    • ในระยะแรกการประกาศและเผยแพร่พระศาสนา ของพระพุทธองค์ อยู่ในดินแดนแคว้นมคธเป็นส่วนใหญ่ มีผู้ศรัทธาขอบวชเป็นพระสงฆ์สาวกและ เป็นอุบาสกผู้อุปถัมภ์พระศาสนา ที่สำคัญมีดังนี้
      • 1) ยสะกุลบุตร  บุตรชาวเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี พร้อมทั้งเพื่อนและบริวารอีก 54 ขอบวชเป็นพระสงฆ์สาวก
      • 2) ชฏิล (นักบวชเกล้ามวยผม) 3 พี่น้อง ตั้งสำนักเผยแพร่คำสอนของตนที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ พร้อมทั้งบริวาร 1,000 รูป ขอบวชเป็นพระสงฆ์สาวก
      • 3) พระเจ้าพิมพิสาร กษ้ตริย์แห่งเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาทรงสร้างวัดเวฬุวัน (สวนไผ่) ถวายเป็นที่จำพรรษา เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
      • 4) ศิษย์ของสำนักสัญชัยเวลัฏฐบุตร แห่งเมืองราชคฤห์ 2 คน ขอบวชเป็นพระสงฆ์สาวก ต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “พระสารีบุตร” และ “พระโมคคัลลานะ” ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่พระศาสนาในเวลาต่อมา
    • ศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนาแห่งใหม่ที่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล มีผู้ศรัทธาให้การอุปถัมภ์ พระพุทธศาสนามากมาย จนเมืองสาวัตถีกลายเป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนา แห่งใหม่
    • พุทธบริษัท 4   หมายถึง บุคคลที่เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระศาสนา มี 4 ประเภทดังนี้

      • 1) ภิกษุ คือ ชายที่บวชเป็นพระภิกษุหรือพระสงฆ์         
      • 2) ภิกษุณี คือ หญิงที่บวชเป็นพระภิกษุณี
      • 3) อุบาสก คือ ชาวพุทธทั่วไปที่เป็นชาย
      • 4) อุบาสิกา คือ ชาวพุทธทั่วไปที่เป็นหญิง
4.   การเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

  • พระพุทธเจ้าทรงประกาศและเผยแผ่พระศาสนาเป็นเวลา 45 ปี จนกระทั่งทรงมีพระชนม์ได้ 80 พรรษา จึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ เมืองกุสินาราย แคว้นมัลละ เมื่อวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 1 ปี (ปีรุ่งขึ้นเริ่มนับ พ.ศ. 1)
  • พระสงฆ์สาวกองค์สุดท้ายที่ทรงบวชให้ ก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้เทศนาสั่งสอนแก่สุภัททปริพาชก ซึ่งเป็นพระภิกษุในพรุพุทธศาสนาถือว่าเป็นพระสงฆ์องค์สุดท้ายที่ทรงบวชให้
  • ปัจฉิมโอวาท พระพุทธองค์ที่ได้ตรัสสอนแก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งสุดท้ายก่อน ปรินิพพาน คือ จงดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท
5    พุทธจริยา        พุทธจริยา คือการปฏิบัติตนหรือการบำเพ็ญประโยชน์ของพระพุทธเจ้า พุทธจริยาประกอบ ด้วยพระจริยวัตรของพระพุทธเจ้า 3 ประการ ดังนี้
  • โลกัตถจริยา  การบำเพ็ญประโยชน์ต่อชาวโลก
  • ญาตัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์แก่พระประยูรญาติ
    • 1) โปรพพระบิดา(พระเจ้าสุทโธทนะ) และพระประยูรญาติที่เมืองกบิลพัสดุ์ ภายหลังตรัสรู้ได้ 2 ปี ได้เสด็จไปแสดงธรรมเผยแผ่พระศาสนา ณ เมืองกบิลพัสดุ์ เป็นผลให้พระบิดาและพระญาติวงศ์เกิดความศรัทธาเข้ารับนับถือในพระพุทธศาสนาจำนวนมาก
    • 2) โปรดพระนางพิมพาและพระราหุล ผลจากการเสด็จไปแสดงธรรมเทศนาโปรดพระประยูรญาติในครั้งนี้พระนางพิมพา(พระมารดาของพระโอรสราหุล) ได้ขอเป็นอุปสมบทเป็นพระภิกษุณี ต่อมาได้ชื่อใหม่ว่า “ภัททากัจจานา” และพระราหุล พระโอรสได้ขอบวชเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา
    • 3)  ทรงระงับกรณีพิพาทระหว่าพระญาติ โดยมีสาเหตุเกิดจากราษฎรชาวเมืองกบิลพัสดุ์กับชาวเมืองโกลิยะขัดแย้งกันเรื่องการทดน้ำเข้านาในช่วงฝนแล้ง  ซึ่งระดับน้ำในแม่น้ำโรหิณีมีปริมาณลดต่ำลง ทำให้กองทัพทั้งสองฝ่ายเตรียมทำสงครามแย่งน้ำกัน พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปห้าม
  • พุทธัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์แก่พระองค์เองและผู้อื่นตามหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะทรงเป็นพระพุทธเจ้า
    • ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ (สัตว์โลกที่พึงสั่งสอนอบรมขัดเกลาได้)
    • ทรงบัญญัติพระวินัยแก่พุทธบริษัท ได้แก่ ศีล 5 (ชาวพุทธทั่วไป), ศีล 8 (อุบาสก และอุบาสิกา), ศีล 10 (สามเณร), ศีล 277 (ภิกษุ)  และศีล 311 (ภิกษุณี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น