วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

หลักการศาสนา

หลักการศาสนา



  • ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มนุษย์มีความจำเป็นต้องมีเกณฑ์ตัดสินที่จะวัดหรือจำแนกแยกแยะว่าอะไรดีอะไร ชั่ว  อะไรถูก อะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร 
  • เช่นเดียวกับการที่มนุษย์จำเป็นต้องมีมาตราชั่งตวงวัดในการดำเนินชีวิต ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวนี้จะถูกกำหนดขึ้นด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเป็น มาตรฐานสากลที่ถูกยอมรับกันโดยทั่วไป 
  • ในเรื่องของคุณธรรมความดีความชั่วก็เช่นกัน มนุษย์ต้องมีมาตรฐานสากลที่ทุกคนสามารถยอมรับได้ และมาตรฐานที่จะใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินคุณธรรม หรือจำแนกความดี ความชั่วนั้นก็ไม่มีอะไรดีไปกว่ามาตรฐานของศาสนา 
  • ศาสนามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลในสังคม เพราะศาสนาทุกศาสนามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทำความดีละเว้นความชั่ว ศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อคนในสังคมโดยสรุปหลักการ หลักปฏิบัติของแต่ละศาสนาเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นและปฏิบัติได้อย่างทุกต้องมากยิ่งขึ้น
องค์ประกอบของศาสนา
    • 1. ศาสดา คือ ผู้ก่อตั้ง ศาสนา
    • 2. คัมภีร์  คือ  หลักคำสอนเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา
    • 3. นักบวช คือ ผู้สืบทอดคำสอน
    • 4. พิธีกรรม คือ การปฏิบัติในการทำพิธีทางศาสนา
    • 5. ศาสนสถาน คือ สถานที่ควรเคารพบูชาและใช้ประกอบพิธีทางศาสนา
  • **ศาสนาอิสลาม ไม่มีนักบวช แต่มีศาสดา มีคัมภีร์ มีพิธีกรรม และศาสนสถาน นับเป็นศาสนาเช่นกัน**
 ความสำคัญของศาสนา
    • 1. เป็นพื้นฐานของกฎศีลธรรมของสังคม
    • 2. เป็นแหล่งกำเนิดจริยธรรม
    • 3. เป็นแหล่งที่ทำให้เกิดศิลปวัฒนธรรม และประเพณี
    • 4. เป็นกลไกของรัฐในการควบคุมสังคม
    • 5. เป็นบรรทัดฐานของสังคมที่ใช้ในการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปในแนวเดียวกัน
ประโยชน์ของศาสนา 
    • 1. ช่วยให้สมาชิกของสังคมสงบสุข
    • 2. ทำให้ผู้นับถือเป็นคนดี มีศีลธรรม
    • 3. เป็นบ่อเกิดของศิลปวัฒนธรรม
    • 4. เป็นที่พึ่งทางจิตใจของสมาชิกในสังคม
    • 5. เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเพื่อให้เกิดความสุข

ศาสนาที่สำคัญของโลก

1. ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู 
  • ศาสนาพราหมณ์แหล่งกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นศาสนาดั้งเดิมของชนเผ่าอารยัน มีความเชื่อเรื่องพระเจ้าหลายองค์ โดยเฉพาะตรีมูรติ (พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ) ต่อมาวิวัฒนาการเป็นศาสนาฮินดู
  • ศาสดา: เทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์
    • เทพเจ้าสูงสุด คือ พระปรมาตมัน
    • ความเชื่อเกี่ยวกับตรีมูรติ คือ 
      • พระพรหม คือ ผู้สร้าง
      • พระวิษณุ(พระนารายณ์) คือ ผู้คุ้มครอง 
      • พระอิศวร(พระศิวะ) คือ ผู้ทำลาย
  • คัมภีร์: คัมภีร์พระเวท มีอยู่ 3 คัมภีร์ ถือว่าเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ต่อมาเพิ่มอาถรรพเวทเข้าไป ได้แก่
    • ฤคเวท (บทสวดสรรเสริญเทพเจ้า)
    • ยชุรเวท (คู่มือพราหมณ์ในการทำพิธีบูชายัญ)
    • สามเวท (ใช้สวดขับกล่อมเทพเจ้า)
    • อาถรรพเวท (เป็นมนต์คาถาทางไสยศาสตร์)

ศาสนาฮินดู
  • ความเชื่อศาสนาฮินดูที่แตกต่างไปจากศาสนาพราหมณ์ ได้แก่
    • เชื่อเรื่องวิญญาณเป็นอนันตะ คือเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุดจนกว่าจะหลุดพ้นโมกษะ
    • ให้คนที่เกิดในตระกูลพราหมณ์ กษัตริย์ ไวศยะ ปฏิบัติตามหลักอาศรม 4 อย่างเคร่งครัด
    • สันติสุขจะเกิดขึ้นได้ต้องมีพราหมณ์ คัมภีร์พระเวท วรรณะ 4 ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณไวศยะ(แพทย์) และวรรณะศูทร
นิกายในศาสนาฮินดู
    • 1. นิกายพรหม นับถือพระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด
    • 2. นิกายไวษณพ (ลัทธิอวตาร) นับถือพระวิษณุ
    • 3. นิกายไศวะ นับถือพระศิวะ มีศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์
    • 4. นิกายศากติ นับถือเทพเจ้าที่เป็นสตรี
หลักธรรมของศาสนาพราหมณ์ ? ฮินดู
  • 1. หลักธรรม 10 ประการ
    • 1. ธฤติ คือ ความพอใจ                   
    • 2. กษมา คือ ความอดทน  
    • 3. ทมะ คือ ความข่มใจ  
    • 4.อัสเตยะ คือ การไม่กระทำเยี่ยงโจร     
    • 5. เศาจะ คือ ความบริสุทธิ์
    • 6. อินทรียนิครหะ คือ การสำรวมอินทรีย์ (ร่างกาย)
    • 7. ธี คือ ความรู้ (ปัญญา)
    • 8. วิทยา คือ ความรู้ (ปรัชญา)
    • 9. สัตยะ คือ ความซื่อสัตย์
    • 10. อโกธะ คือ ความไม่โกรธ
  • 2. หลักอาศรม 4
    • 1. พรหมจารี คือ เป็นวัยศึกษาเล่าเรียน
    • 2. คฤหัสถ์ คือ เป็นวัยครองเรือน
    • 3. วานปรัสถ์ คือ เป็นวัยออกไปอยู่ป่า
    • 4. สันยาสี คือ เป็นวัยสุดท้ายของชีวิต ออกบวชเป็นสันยาสี บำเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้น
  •  3. หลักปรมาตมัน และโมกษะ
    • 1. หลักปรมาตมัน มีความเชื่อว่า ปรมาตมัน หมายถึง พลังธรรมชาติ เป็นอมตะไม่มีเบื้องต้นและสิ้นสุด   ส่วนวิญญาณย่อยเรียกว่า อาตมัน สามารถไปรวมกับปรมาตมันได้เมื่อบรรลุโมกษะ
    • 2. หลักโมกษะ เป็นหลักปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งชีวิต ด้วยการนำอาตมันของตนเข้าสู่ปรมาตมัน
  • 4. หลักปรัชญาภควัทคีตา ได้แก่
    • 1. กรรมโยคะ การทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน
    • 2. ชยานโยคะ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญหา ความรู้แจ้ง
    • 3. ภักติโยคะ ความรัก ความภักดีอุทิศตนต่อพระเจ้าเพื่อนำไปสู่การหลุดพ้น
  •  5. หลักทรรศนะหก ได้แก่
    • 1. สางขยะ ทรรศนะเกี่ยวกับชีวิต
    • 2. โยคะ ทรรศนะเกี่ยวกับการปฏิบัติโดยสำรวมอินทรีย์ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์
    • 3. นยายะ ทรรศนะเกี่ยวกับความรู้
    • 4. ไวเศษิกะ ทรรศนะเกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่จริงชั่วนิรันดร 9 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ กาลเทศะ อาตมัน มนะ
    • 5. มางสา ทรรศนะเกี่ยวกับปรัชญาน่าเชื่อถือ
    • 6. เวทานตะ ทรรศนะเกี่ยวกับอุปนิษัท (อุปนิษัท คือ คัมภีร์ในส่วนสุดท้ายของพระเวท เป็นคัมภีร์ที่เป็นหลักปรัชญาลึกซึ้ง)
พิธีกรรมที่สำคัญของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู 
    • 1. พิธีศราทธ์ คือ พิธีทำบุญให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
    • 2. พิธีประจำบ้าน ได้แก่
      •  พิธีอุปนยัน คือ พิธีเริ่มการศึกษา ถ้าเป็นหญิงยกเว้น
      •  พิธีวิวาหะ คือ พิธีแต่งงาน
    • 3. ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับวรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพทศย์ ศูทร  แต่ละวรรณะมีการดำเนินชีวิตที่ต่างกันจึงต้องปฏิบัติตามวรรณะของตน เช่น การแต่งงาน การแต่งกาย เป็นต้น
    • 4. พิธีบูชาเทพเจ้า แต่ละวรรณะจะมีการปฏิบัติต่างกันในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานศิวะราตรี (พิธีลอยบาป) งานบูชาเจ้าแม่ลักษมี (เทวีแห่งสมบัติและความงาม) เป็นต้น
 
2. ศาสนาพุทธ 
  • ศาสนาพุทธมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ประเภทอเทวนิยม (ไม่นับถือว่าพระเจ้าสร้างโลกและมนุษย์ แต่ทุกสรรพสิ่งเกิดจากธรรมชาติ) มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา
  • คัมภีร์ของศาสนาพุทธ คือ พระไตรปิฎก หมายถึงตำราที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า แบ่งออกเป็น 3 คัมภีร์ คือ
    • 1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยศีลหรือวินัยของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
    • 2. พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) ว่าด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวก รวมทั้งชาดกต่าง ๆ
    • 3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยหลักธรรมล้วน ๆ
นิกายสำคัญของศาสนาพุทธ 
  • 1. นิกายเถรวาท หรือหีนยานปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเคร่งครัด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงพระธรรมวินัย ประเทศที่นับถือ ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ลาว กัมพูชา
  • 2. นิกายอาจริยวาท หรือมหายาน ดัดแปลงพระธรรมวินัยได้ ประเทศที่นับถือ ได้แก่ จีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม เกาหลี
หลักคำสอนของศาสนาพุทธ 
  • 1. อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ
    • ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
    • สมุทัย คือ เหตุของความเป็นทุกข์ ได้แก่ ตัณหา
    • นิโรธ คือ ความดับทุกข์ หรือนิพพาน
    • มรรค คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความดับทุกข์ หมายถึง อริยมรรค 8 ประกอบด้วย
      •  1. สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ    
      •  2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ
      •  3. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ
      •  4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำชอบ
      •  5. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ
      •  6. สัมมาวายามะ คือ ความพยายามชอบ
      •  7. สัมมาสติ คือ การตั้งสติชอบ
      •  8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจชอบ
      • อริยมรรค 8 เมื่อสรุปรวมแล้วเรียกว่า ไตรสิกขา อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
  • 2. ขันธ์ 5 หรือเบญจขันธ์ หมายถึง องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย และส่วนที่เป็นจิตใจ ได้แก่
    • 1. รูปขันธ์ คือ ร่างกายและพฤติกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    • 2. วิญญาณขันธ์ คือ ความรู้อารมณ์ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    • 3. เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึก ซึ่งเป็นผลมาจากสุขเวทนา ความสุขทางกายและใจทุกขเวทนา คือ ทุกข์ทางกายและใจ, อุเบกขาเวทนา คือ ความไม่ทุกข์ไม่สุขทางกายและใจ
    • 4. สัญญาขันธ์ คือ การกำหนดได้ 6 อย่างจากวิญญาณและเวทนา คือ รูป รส กลิ่น เสียง
    • 5. สังขารขันธ์ คือ ความคิด แรงจูงใจ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว เป็นผลมาจากวิญญาณและเวทนา
  • 3. ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลก ได้แก่
    • 1. อนิจจตา คือ ความไม่เที่ยง
    • 2. ทุกขตา คือ ความเป็นทุกข์
    • 3. อนัตตา คือ ความไม่ใช่ตัวตน
 
3. ศาสนาคริสต์ 
  • ศาสนาคริสต์กำเนิดในดินแดนปาเลสไตน์ หรืออิสราเอลในปัจจุบัน ศาสดาคือพระเยซู    ซึ่งเป็นบุตรของโยเซพและมาเรีย เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดวิวัฒนาการมาจากศาสนายูดาย จึงมีพระเจ้าหรือที่เรียกว่า พระยะโฮวาห์

  • คัมภีร์ของศาสนาคริสต์ คือ คัมภีร์ไบเบิล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
    • พระคัมภีร์เก่า  มีสาระเกี่ยวกับพระเจ้าสร้างโลก ซึ่งประกอบด้วย บทเพลง บทสวด และสุภาษิต
    • พระคัมภีร์ใหม่  เป็นคัมภีร์ที่มีสาระเกี่ยวกับประวัติและคำสอนของพระเยซู การเผยแผ่ศาสนาของสาวก  จดหมายเหตุ และวิวรณ์ บั้นปลายชีวิตของมนุษยชาติ

นิกายที่สำคัญของศาสนาคริสต์ 
  •  1. นิกายโรมันคาทอลิก เป็นนิกายที่นับถือและปฏิบัติตามคำสอนของพระเยซู มีพิธีกรรมที่เคร่งครัด มีสันตะปาปา เป็นผู้นำศาสนาสูงสุด ประเทศที่นับถือ ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี สเปน โปรตุเกส ฟิลิปปินส์    ผู้ที่นับถือเรียกตนเองว่า คริสตัง 
  • 2. นิกายออร์โธดอกซ์ เป็นนิกายที่แยกจากนิกายโรมันคาทอลิก ด้วยเหตุผลทางการเมืองและวัฒนธรรม ประเทศที่นับถือ ได้แก่ กรีซ โรมาเนีย บัลแกเรีย สหภาพโซเวียต และประเทศในยุโรปตะวันออกบางประเทศ
  • 3. นิกายโปรแตสแตนต์ เป็นนิกายที่แยกมาจากนิกายโรมันคาทอลิก ผู้ก่อตั้งคือ มาติน ลูเธอร์
  • พิธีกรรมที่สำคัญคือ ศีลล้างบาป และศีลมหาสนิท ผู้ที่นับถือนิกายนี้เรียกว่า คริสเตียน 

หลักคำสอนของศาสนาคริสต์ 
  • 1. หลักคำสอน เรื่องตรีเอกานุภาพ คือ การนับถือพระเจ้าองค์เดียว แบ่งเป็น 3 ภาค คือ
    • - พระบิดา หมายถึง พระเจ้า
    • - พระบุตร หมายถึง พระเยซู
    • - พระจิต หมายถึง วิญญาณบริสุทธิ์ในจิตใจของชาวคริสต์ที่มีศรัทธา
  • 2. หลักคำสอนเรื่องความรัก ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งความรัก สอนให้รักพระเจ้า รักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง
  • 3. คำสอนเรื่องบัญญัติ 10 ประการ ได้แก่
    • - จงนับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระยะโฮวาห์
    • - อย่าออกนามพระเจ้าโดยไม่สมเหตุ 
    • - ถือวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์
    • - จงนับถือบิดามารดา
    • - อย่าฆ่าคน
    • - อย่าผิดประเวณี
    • - อย่าลักทรัพย์
    • - อย่าใส่ความนินทาว่าร้ายผู้อื่น
    • - อย่าคิดมิชอบ
    • - อย่าโลภในสิ่งของผู้อื่น
  • 4. อาณาจักรพระเจ้า หมายถึง อาณาจักรแห่งจิตใจที่มีพระเจ้าเป็นเป้าหมาย

พิธีกรรมที่สำคัญของคริสต์ศาสนา 
  • 1. พิธีศีลจุ่ม กระทำแก่ทารกเมื่อเริ่มเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน โดยใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์เทลงบนศีรษะเพื่อล้างบาป
  • 2. พิธีศีลล้างบาป เป็นการยืนยันว่าตนยอมรับนับถือศาสนาคริสต์จริง
  • 3. พิธีศีลมหาสนิท เป็นการรับประทานขนมปังและดื่มเหล้าองุ่นเพื่อระลึกถึงเพราะเจ้าที่ทรงสละพระวรกายเพื่อมนุษย์จะได้หลุดพ้นจากบาป
  • 4. พิธีศีลสมรส กระทำแก่คู่บ่าวสาวก่อนการจดทะเบียนสมรส
  • 5. พิธีสารภาพบาป ต้องไปกระทำต่อหน้าบาทหลวงเพื่อสารภาพบาป
  • 6. พิธีเจิมครั้งสุดท้าย กระทำแก่ผู้ป่วย
  • 7. พิธีเข้าบวช เป็นการบวชบุคคลเป็นบาทหลวงในคริสต์ศาสนา

4.ศาสนาอิสลาม 
  •  ศาสนาอิสลามกำเนิดที่นครมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือ พระอัลเลาะห์   
  • ศาสดาของศาสนา คือ พระนบีมุฮัมหมัด ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเรียกตนเองว่า มุสลิม
  • คัมภีร์ของศาสนาอิสลาม : ศาสนาอิสลามมีคัมภีร์อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ที่พระผู้เป็นเจ้าประทานให้แก่มนุษย์
นิกายที่สำคัญของศาสนาอิสลาม 
  • 1. นิกายซุนนี จะปฏิบัติเคร่งครัดในคัมภีร์อัลกุรอานและคำสอนของศาสดาที่สุด ใช้หมวกสีขาวเป็นเครื่องหมาย
  • 2. นิกายชีอะห์ ยกย่องอาลี ใช้หมวกสีแดงเป็นเครื่องหมาย
  • 3. นิกายวาฮะบีห์ นับถือพระอัลเลาะห์เพียงองค์เดียว ไม่มีพิธีกรรมใด ๆ นอกเหนือจากพระคัมภีร์

หลักคำสอนของศาสนาอิสลาม 
  • 1. หลักศรัทธา 6 ประการ
    • - ศรัทธาในพระอัลเลาะห์เพียงองค์เดียว
    • - ศรัทธาในบรรดามลาอีกะห์ คือ เทวทูต
    • - ศรัทธาในพระคัมภีร์
    • - ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต
    • - ศรัทธาในวันพิพากษา
    • - ศรัทธาในกฎกำหนดสภาวการณ์
  • 2. หลักปฏิบัติ 5 ประการ
    • 1. การปฏิญาณตน ยอมรับว่าพระอัลเลาะห์เป็นพระเจ้าองค์เดียว
    • 2. การละหมาด หรือ นมาซ วันละ 5 ครั้ง
    • 3. การถือศีลอด หรือ อัศศิยาม หมายถึง การละหรืองดเว้นบริโภคอาหาร
    • 4. การบริจาคซะกาต หมายถึง การบริจาคทานหรือบริจาคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความสุจริตแก่ผู้ที่ควรรับซะกาต
    • 5. การประกอบพิธีฮัจญ์ ณ วิหารกะบะห์ ที่เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
 
5.ศาสนาซิกข์
  • หลักความเชื่อของศาสนาซิกข์ คือ ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว คือ "วาหคุรู" ปฏิบัติสมาธิในนามของพระเจ้า และโองการของพระเจ้า ศาสนิกชาวซิกข์จะนับถือหลักคำสอน ของคุรุซิกข์ทั้ง 10 หรือผู้นำผู้รู้แจ้ง และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ที่เรียกว่า "คุรุ ครันถ์ สาหิพ"
  • ศาสดาของศาสนาสิกข์ หรือเรียกว่า "คุรุ" มีทั้งหมด 11 องค์ องค์แรก และมีความสำคัญที่สุด ชื่อ คุรุนานัก          
  • คัมภีร์  คือ พระมหาคัมภีร์ของศาสนาสิกข์คือ อาดิครันถ์ เป็นที่รวมของพระธรรม บทสวดภาวนา สดุดีพระผู้เป็นเจ้า โดยพระศาสดาของสิกข์ และนักบวช นักบุญ และนักปราชญ์ ของอินเดียในสมัยนั้น ประดุจศูนย์ รวมของข้อปฏิบัติทางศาสนาและจิตใจ
หลักคำสอน
  • ความเชื่อถือพื้นฐานของสิกข์ คือ ?มูลมันตระ- บทสวดขั้นมูลฐาน? (ข้อมูลแห่งมนตรประเสริฐ) บท สวดนี้เป็นบทสวดปฐม บทแรกเริ่มต้นในพระมหาคัมภีร์คุรครันถ์ซาฮิบ ประพันธ์โดยพระศาสดาคุรุนานัก เป็นบทสรุปและรากฐานแห่งความเชื่อถือของชาวสิกข์ ชาวสิกข์จะสวดภาวนาบทสวดนี้ทุกวัน
  • พิธีกรรม ผู้ที่นับถือศาสนาสิกข์  ในระยะแรกต้องประกอบพิธี "ปาหุล" ก่อน แล้วจะได้นามพิเศษต่อท้ายชื่อว่า "สิงห์" หรือ "ซิงห์" และจะได้รับ 5 สิ่ง ที่เรียกว่า "กกะ" คือ
    • 1.เกศ  คือ  การไว้ผมยาว โดยไม่ต้องตัดเลย
    • 2.กังฆา  คือ  หวีขนาดเล็ก
    • 3.กฉา  คือ  กางเกงขาสั้น
    • 4.กรา  คือ  กำไลมือทำด้วยเหล็ก
    • 5.กฤปาน  คือ  ดาบ
นิกายในศาสนาสิกข์
  • 1. นิกายนานักปันถิ แปลว่า ผู้ปฏิบัติตามธรรมของท่านคุรุนานัก (ศาสดาองค์แรก) ผู้นับถือนิกายนี้จะไม่เข้าปาหุล หรือล้างบาป และไม่รับ ?ก? ทั้ง ๕ ประการ
  • 2. นิกายนิลิมเล แปลว่า นักพรตผู้ปราศจากมลทิน บางแห่งเรียกนิกายนี้ว่า ?นิกายขาลสา? หรือ ?นิกายสิงห์? ผู้นับถือนิกายนี้ จะดำเนินตามคำสอน ของท่านคุรุโควินทร์สิงห์ (ศาสดาองค์ที่ ๑๐) โดยเฉพาะในเรื่องปาหุล หรือล้างชำละล้างบาป ให้ตนเป็นผู้บริสุทธิ์ (ขาลสา) และเมื่อรับ ?ก? ทั้ง ๕ แล้วก็ใช้นามสิงห์ต่อท้ายได้

  • จุดมุ่งหมายที่สำคัญของศาสนาสิกข์ คือ ต้องการให้ทุกคน ที่นับถือสิกข์ มีความรู้สึกต่อกันฉันพี่น้อง เป็นการสร้าง "ภราดรภาพ" ขึ้น หมู่ศาสนิกชนที่นับถือศาสนาร่วมกัน โดยไม่มีการถือชาติชั้นวรรณะ  พิธีกรรมที่สำคัญ จึงมุ่งอยู่ที่ ความเสมอภาคและความสามัคคี  ได้แก่
    • 1.สังคีต  หมายถึง  การชุมนุมผู้ที่นับถือศาสนาสิกข์ร่วมกัน เพื่อก่อให้เกิดการสามัคคี ในที่ชุมนุมนี้ ทุกคนจะต้อง ช่วยตัวเอง เหมือนกันหมด ไม่มีนายไม่มีบ่าว
    • 2.อมฤตสังสการ หมายถึง ผู้ที่ถือศาสนาสิกข์ จึงอาจนับถือศาสนาใดมาก่อนก็ได้ แต่เมื่อเข้ามาสู่ศาสนานี้ แล้ว ต้องเลิกปรัมปราประเพณีต่าง ๆ  ที่ยึดถือมาให้หมด เมื่อมานับถือศาสนาสิกข์ นั้น ทุกคนจะนั่งร่วมกันในสถานที่แห่งเดียวกัน หยิบอาหาร ใส่ปากกันและกันได้ ถ้าหากยังรังเกียจกันอยู่ ก็เชื่อว่า ยังไม่เป็นสิกข์ เป็นต้น

***ความสอดคล้องของหลักคำสอนทั้ง 5ศาสนา ***
    • 1. การทำความดี ละเว้นความชั่ว
    • 2. การแสดงความรักความเมตตา และเสียสละ
    • 3. การเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์
    • 4. การพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น ขยันหมั่นเพียร
    • 5. สอนให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ไม่เบียดเบียนกัน
  • ไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไรไม่สำคัญของเพียงแค่เป็นคนดี ไม่คิดร้ายกับผู้อื่นก็ถือว่าปฏิบัติตามหลักศาสนาได้แล้วระดับหนึ่งเพื่อพัฒนาให้เข้าถึงแก่นของศาสนาให้มากขึ้น 
  • และหากเราศึกษาดูเราจะพบว่าตั้งแต่อดีต ศาสนาจะมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก กล่าวคือ  ศาสนาได้มีส่วนสำคัญต่อการกำหนดความคิด ความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณีและบรรทัดฐานทางสังคม 
  • ถึงแม้ในปัจจุบัน สังคมมนุษย์จะพัฒนาขึ้นมาเป็นสังคมใหญ่ขึ้น แต่ศาสนาก็ยังคงเป็นสถาบันที่มีบทบาทต่อมนุษย์อยู่เพราะศาสนาเป็นสิ่งที่มีคู่กันมากับมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
  • ตามประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ เราจะเห็นว่าคราใดที่มนุษย์มีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุและปลีกตัวออกจาก ศาสนา มนุษย์ก็จะประสบกับความวิบัติหายนะ 
  • และเมื่อมนุษย์อยู่ในสภาพตกต่ำเมื่อใด ศาสนาก็จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการกอบกู้มนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ทรมานแทบทุกครั้ง

1 ความคิดเห็น:

  1. Titanium Lights, T3 - Tip of the Night - TIOTIC ARGMENTS
    The T3 Titanium titanium scooter bars Lights titanium bar stock feature a wide, smooth, 2D titanium rod in femur complications LED, titanium linear compensator and a light beam for use with the T-RIGHT T3, the adjustable blade angle titanium necklace mens of the blade from 3-4

    ตอบลบ